วัตถุประสงค์ในการเผยแพร่

๑. เพื่อให้ประชาชนรู้จักพระพุทธศาสนาตามวัยขอนตน

๒. เพื่อปลูกฝังศีลธรรมและวัฒนธรรมให้แก่ประชาชน

๓. เพื่อให้ประชาชนจงดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา

๔. เพื่อให้ประชาชนจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์

๕. เพื่อความมั่นคงและก้าวหน้าของพระพุทธศาสนา

วิธีการเผยแพร่

การเผยแพร่จะได้ผลหรือให้ประโยชน์ เราต้องเลือกกาลเทศะ และ บุคคล
ตลอดทั้งวิธีการนำธรรมะเข้าถึงจิตใจของประชาชนด้วย ซึ่งมีหลายวิธี เช่น

๑. การเทศนา

๒. การปาฐกถา

๓. การอภิปราย

๔. การโต้วาที

๕. การสาธิต

๖. การสนทนา

๗. การเขียนบทความ

ยังมีวิธีการเผยแพร่อื่นๆ อยู่อีกมากทั้งนี้อยู่กับสิ่งแวดล้อมเป็องค์ประกอบสำคัญในที่นี้
ได้นำลักษณะของการเผยแพร่มาไว้ ๒ หัวข้อสำคัญ คือ

๑. เผยแพร่ประจำที่

๑.๑. เผยแพร่ในวัดของตน
๑.๒. เผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ หรือทางสื่อมวลชนอื่น ๆ
๑.๓. เผยแพร่ตามจุด ศูนย์ องค์การ หรือสมาคม และอื่น ๆ ที่ตั้งไว้เป็นหลักแหล่ง

๒. เผยแพร่เคลื่อนที่

๒.๑.  เผยแพร่ในตามวัดต่าง ๆ
๒.๒.  เผยแพร่ไปตามหมู่บ้าน
๒.๓.  เผยแพร่ไปตามโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
๒.๔.  เผยแพร่ไปตามหน่วยราชการต่าง ๆ
๒.๕.  และสถานที่อื่น ๆ ที่เห็นสมควร

คุณสมบัติของนักเผยแพร่

. ให้ยึดโอวาทปาติโมกข์เป็นหลัก

๒. มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหลักภาษา

๓. เก่งโวหาร

๔. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

๕. มีงาน ๔ ดี ๕

๖. มีอุดมคติ

๗. มีประสบการณ์

๘. สร้างอานุภาพ

๙. ยึดหลักธรรมกถึก

องค์แห่งธรรมกถึก ๕ อย่าง

๑. แสดงธรรมไปโดยลำดับไม่ตัดลัดให้ขาดความ

๒. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ

๓. ตั้งจิตเมตตา ปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง

๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ

๕.ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือว่าไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น

คุณสมบัติของนักเผยแพร่อีกอย่างหนึ่ง

๑. มีความรู้ความสามารถดี

๒. มีปฏิภาณดี

๓. มีความประพฤติดี

๔. มีความรักงานการเผยแพร่

๕. มีอนามัยดี

๖. เป็นนักเสียสละ

๗. มีความอดทน

ความแตกต่างระหว่างบุคคลผู้รับการเผยแพร่

๑. เพศ - วัย                 ๒.  เศรษฐกิจ

๓.  สังคม                     ๔.  การศึกษา                ๕.  อุปนิสัย

การสังคมสงเคราะห์

๑. อามิสสงเคราะห์

๑.๑.  ช่วยเหลือสนับสนุนการเกษตร

๑.๒.  ช่วยเหลือสนับสนุนเกี่ยวกับอนามัย

๑.๓.  ช่วยเหลือสนับสนุนการคมนาคม

๑.๔.  ช่วยเหลือสนับสนุนการศึกษา

๑.๕.  ช่วยเหลือสนับสนุนการปกครอง

๑.๖.  ช่วยเหลือสนับสนุนการขุดบ่อน้ำ

๒. ธรรมะสงเคราะห์

๒.๑.  ช่วยเหลือทางวิชาการ

๒.๒.  ช่วยเหลือเกี่ยวกับการปฏิบัติ

การเผยแพร่ที่ดี

๑. ต้องรู้จักบุคคลที่จะอบรมสั่งสอน

๒. เลือกธรรมะอบรมสั่งสอนให้เหมาะสมกับบุคคล

๓. อบรมสั่งสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม

๔. อบรมสั่งสอนจากสิ่งที่เห็นได้ง่ายไปหาสิ่งที่เห็นได้ยาก

๕. อบรมสั่งสอนจากสิ่งที่รู้อยู่แล้วไปหาสิ่งที่ยังไม่รู้

๖. อบรมสั่งสอนอุปกรณ์การสอนการอบรม

๗. ต้องเตรียมพร้อมในการอบรมสั่งสอน

๘. อบรมสั่งสอนด้วยอุปมา - อุปมัย

๙. อบรมสั่งสอนด้วยเมตตา กรุณา ไม่เห็นแก่อามิส

การเผยแพร่แบบพระพุทธเจ้า

๑. สุตะ                       สอนให้เข้าใจในการฟัง

๒. เคยยะ                    สอนด้วยร้อยแก้ว  แทรกด้วยร้อยกรอง

๓. เวยยากรณะ           สอนด้วยคำพูดสละสลวยล้วน ๆ

๔. คาถา                     สอนด้วยบทกวีล้วน

๕. อุทาน                    สอนให้เปล่งอุทาน (ให้เปล่งวาจา) เป็นคิด

๖. อิติตวุตตถะ            สอนโดยอ้างอิงหลักฐาน

๗. ชาตกะ                   สอนโดยเล่านิทานประกอบ

๘. อัพภูตธรรม            สอนเรื่องน่าแปลก และอัศจรรย์

๙. เวทัลละ                  สอนให้ขบคิดปัญหาด้วยปัญญา

การเผยแพร่แบบ ๔ ส.

๑. สันทัสสโถ              สอนให้เห็น

๒. สมาทปโถ              สอนให้เชื่อ

๓. สมตุเตชดก            สอนให้กล้า

๔. สัมปหังสโก           สอนให้ร่าเริง (สนุก)

การเผยแพร่แบบโบราณ

๑. สุ                          สอนให้รู้จักฟัง

๒. จิ                          สอนให้รู้จักคิด

๓.ปุ                           สอนให้รู้จักถาม

๔. ลิ                          สอนให้รู้จักจดจำ จดจาร

การเผยแพร่แบบอริยสัจ ๔

๑. ทุกข์                      สอนให้รู้จักตัวปัญหา

๒. สมุทัย                   สอนให้รู้จักสาเหตุปัญหา

๓. นิโรธ                     สอนให้รู้จักแก้ปัญหา ทดลอง เก็บข้อมูล

๔. มรรค                     สอนให้รู้จักสรุปผล และหยิบผลไปใช้ในชีวิตประจำวัน

วิธีแก้ปัญหา
การสอน การอบรม จะมีปัญหาติดตามมาเสมอนักเผยแพร่ที่ดี  จะต้องฉลาดในการแก้ปัญหา

๑. เอกังสพยากรณ์                   ตอบแง่เดียว

๒. อิภัชชพยากรณ์                    แยกตอบ

๓. ปฏิปุจฉาพยากรณ์               ย้อนถาม

๔. ฐปนียพยากรณ์                    งดไม่ตอบ

การประเมินผลการเผยแพร่

๑. การตั้งปัญหา

๒. การสังเกต

๓. ทดลองปฏิบัติ

สิ่งที่นักเผยแพร่ควรพิจารณาเนือง ๆ

๑. ขบวนการเผยแพร่ดีไหม ?

๒. นักเผยแพร่มีปริพาก และสมรรถภาพดีไหม ?

๓. นโยบายการเผยแพร่ดีไหม ?

๔. หลักธรรมเหมาะสมดีหรือไม่ ?

๕. เหตุการณ์เป็นอย่างไร ?

สูตรธรรมกถึก ๑

๑. เตรียมให้พร้อม                    ๒.  ซักซ้อมให้ดี

๓.  ท่าทีให้สง่า                         ๔.  หน้าตาให้สุขุม

๕.  ทักที่ประชุมไม่วกวน           ๖.  เริ่มต้นให้โน้มน้าว

๗.  เรื่องราวให้กระชับ               ๘.  ตาจับที่ผู้ฟัง

๙.  เสียงดังให้พอดี                   ๑๐. อย่าให้มีเอ้อ อ้า

๑๑. ดูเวลาให้พอครบ                ๑๒.  สรุปจบจับใจ

๑๓. ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดการพูด

สุตรธรรมกถึก ๒

๑. ต้น  ตื่น  เต้น

๒. กลาง  กลม  กลืน

๓. จบ  จับ  ใจ

สูตรธรรมกถึก ๓

๑. คิดให้รอบคอบ                    ๒.  ชอบด้วยใจความ

๓. งดงามด้วยถ้อยคำ              ๔.  จดจำที่สาระ

๕. เสริมทักษะด้วยคารม          ๖.  ผสมด้วยตัวอย่าง

๗. กระจ่างด้วยเหตุผล             ๘.  แยบยลด้วยดลวิธี

สูตรธรรมกถึก ๔

๑. การสร้างโครงเรื่อง             ๒.  การเริ่มเรื่อง

๓. การดำเนินเรื่อง                  ๔.  การสรุปเมื่อจบเรื่อง

สูตรธรรมกถึก ๕

๑. คุณค่าของเรื่อง                  ๒.  การเรียบเรียงเนื้อเรื่อง

๓. การใช้ถ้อยคำ ภาษา          ๔.  การใช้ท่าทาง

๕. การใช้เสียง                        ๖.  การใช้สายตา

๗.  ความพอใจของคนฟัง       ๘.  การสรุป

สูตรธรรมกถึก ๖

๑. การเริ่มเรื่อง                        ๒. การใช้เสียง

๓. การใช้ภาษา                       ๔. การเลือกใช้ถ้อยคำ

๕. การใช้สายตา                     ๖. การเรียบเรียงเนื้อเรื่อง

๗. ภาพพจน์                            ๘. ความเข้าใจ - ความจริงใจ

๙. คุณค่าของเรื่องที่พูด         ๑๐. ความสนใจ ผู้ฟัง

๑๑. การสรุปผล                      ๑๒. บรรลุเป้าหมาย

การเริ่มต้นที่ดี

๑. แบบพาดหัวข่าว                 ๒. กล่าวคำถาม

๓. สร้างความสงสัย                ๔. ให้รื่นเริง

๕. เชิงกวี                                 ๖. มีตัวอย่าง

๗. ช่างบังเอิญ

เนื้อเรื่องที่ดี

๑. เรียงลำดับ                          ๒. จับประเด็น

๓. เน้นตอนสำคัญ                   ๔. บีบคั้นอารมณ์

๕. เหมาะสมเวลา

สรุปที่ดี

๑. สรุปความ                           ๒. ตามคมปาก

๓. ฝากให้คิด                          ๔. สะกิดชักชวน

๕. สำนวนขบขัน

การเริ่มต้นที่ไม่ดี

๑. แบบนับขนม้า                      ๒. แบบนักเพราะพันธุ์ไม้

๓. แบบเพชรมาก ๆ                  

สรุปที่ไม่ดี

๑. ไม่มากก็น้อย                       ๒.  คอยขอโทษ

๓. หมดแค่นี้                            ๔.  ไม่มีเวลา

๕. หาลานบิน                           ๖.  สิ้นชั้นเชิง

หัวใจธรรมกถึก ๔ ห้อง

๑. แคล่วคล่องว่องไว  ชัดเจนแจ่มใส  ถูกสมัยนิยม  อุดมด้วยคติ

๒. เสียงดัง  ฟังชัด  ถนัด  ถูกต้อง

๓. ปากไว  ใจกล้า  ปัญหาเด่น  เสียงดัง

๔. อ่านตัวออก  บอกตัวได้  ใช้ตัวเป็น  เห็นตัวเอง

ธรรมสำหรับการสอน

๑. หาพวกดี

๒. มีความรู้

๓. สู้ด้วยเหตุผล

๔. ระวังตนอย่าระแวง

๕. แข่งทำดี

๖. สามัคคีทั่วกันหมด

๗. มีความอดทน

๘. อย่าเอาแต่บ่นไม่แก้ไข

๙. พัฒนาจิตใจให้มีคุณภาพ   คุณประโยชน์

หลักการสร้างความมั่นคงก้าวหน้าให้กับชีวิต

๑. สร้างศรัทธา                        ๒. ทำหน้าที่

๓. สามัคคี                               ๔. มีน้ำใจ        ๕. ใช้ปัญญา

หลักการพัฒนาชีวิต

๑. เข้าวัด                                ๒.  ฟังธรรม

๓. จำศีล                                ๔.  กินทาน

๕. ผลาญกิเลส

เครื่องประดับชีวิต

๑. ความรู้ดี                             ๒.  มีสัจจะ

๓. เสียสละเพื่อสังคม             ๔.  นิยมประชาธิปไตย

๕. ใช้เหตุผล                          ๖.  อดทนต่อหน้าที่

๗. หลีกหนีอบายมุข              ๘.  หาความสุขจากธรรมะ

๙. เลิกละธิฐิ                        ๑๐.  มิสติครองตน

. ๓ งาน ๔ ดี ๕

ค. ๓     คือ       ครองตน  ครองคน  ครองงาน

งาน ๔  คือ      เสื้อผ้า  ท่าทาง  วางตัว  หัวใจ

ดี ๕      คือ      ความรู้ดี ความสามารถดี ความประพฤติดี หน้าที่ การงานดี  อนามัยดี

ทางแห่งความสำเร็จ

พอใจทำ แข็งใจทำ ตั้งใจทำ และฉลาดทำ นี้คือทางแห่งความสำเร็จ

การแก้ปัญหาสังคม

เริ่มที่แม่  แก้ที่พ่อ  ก่อที่ลูก  ปลูกฝังแต่ยังเล็ก  จากเด็กไปหาใหญ่

. ๓

๑. เยี่ยมด้วยคุณภาพ      ๒. ยอดในคุณธรรม  ๓. หยิ่งด้วยศักดิ์ศรี

. ๗

๑. อย่าหยิ่ง                             ๒.  ยิ้มแย้ม

๓. เยือกเย็น                            ๔.  ยืดหยุ่น

๕. เยี่ยมเยือน                          ๖.  หยิบยื่น       ๗.  ยกย่อง

. ๒

๑. เพิ่ม             ทำให้ปริมาณมากขึ้น

๒. พูน             ทำให้คุณภาพสูงขึ้น

คุณสมบัติของผู้นำ
สระน้ำ              =          น้ำใจ  น้ำคำ
ลำยอ               =          รางวัล  ยกย่อง  ประกาศความดี
กอไผ่               =          ตัดเตือน  ทำโทษ
แบบพิมพ์         =          เป็นตัวอย่างที่ดีด้วยกาย  วาจา  ใจ
อิสริยยศ          =          ชนะอุปสรรค
เกียรติยศ         =          ชนะภัย
ปริวารยศ         =          ชนะงาน

หัวใจ ๔ ห้อง

๑. ห้องพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  และพระมหากษัตริย์

๒. ห้องบิดา  มารดา  ครู  อาจารย์

๓. ห้องบริวารเพื่อนฝูง

๔. ห้องสำหรับตัวเอง

หน้าที่ของพระสงฆ์

๑. สอนธรรม                           ๒.  นำปฏิบัติ

๓. พัฒนา                                ๔.  ปรึกษากิจ

๕. ให้อามิสทาน                      ๖.  บริหารสังคม

ชาวพุทธที่ดีต้องรู้ พ. ๑๐

๑. พุทธประวัติ                         ๒.  พุทธธรรม

๓. พุทธจริยา                           ๔.  พุทธศาสนาวัตถุ

๕. พุทธศาสนาพิธี                   ๖.  พุทธศาสนิกชน

๗. พุทธศาสนสุภาษิต              ๘.  พุทธศาสนประวัติ

๙. พุทธสาวก - สาวิกา            ๑๐. พุทธศาสนาวงค์

หาความสุขจากธรรมะ ๙ ร

๑. รู้เรา                                   ๒.  รู้เขา

๓. รู้เท่า                                  ๔.  รู้ทัน

๕. รู้กัน                                   ๖.  รู้แก้

๗. รู้แพ้                                  ๘.  รู้ชนะ

๙. รู้อภัย

หลีกหนีอบายมุข

๑. ขยันทำงาน                         ๒.  ไม่เล่นการพนัน

๓. ไม่ใฝ่ฝันเชิงชู้                     ๔.  ค่ำอยู่กับบ้าน

๕. สุราบานไม่เกี่ยว                 ๖.  ไม่คบคนชั่วเป็นมิตร

ชาวพุทธ ๕ ประเภท

๑. เฮโลพุทธ                            ๒.  บรรพบุรุษพาถือ

๓. มีแต่ชื่อในสำมะโนครัว       ๔.  เจ้าตัวมีศรัทธา

๕. หรือว่าพูดแต่ปาก

นักพัฒนา

๑. ไว้ต่อปัญหา                        ๒.  มีความริเริ่ม

๓. มีความคิดคล่องตัว            ๔.  มีความคิดยืดหยุ่น

๕. ขยันที่จะเอาความคิดริเริ่มออกมาใช้

สังคม

๑. ปรับปรุงสังคม                     ๒.  รักษาสังคม

๓. ส่งเสริมสังคม                     ๔.  รับสังคม

๕. เข้าสังคม

ทำดีได้ดีต้องทำอย่างไร

๑. ทำดีให้ถูกที่

๒. ทำดีให้ถูกคน

๓. ทำดีให้ถูกกาล

๔. ทำดีให้ติดต่อไป หรือทำดีไปเรื่อย ๆ

ทำบุญยุคพัฒนา

๑. ทำบุญเอาหน้า                     ๒.  ทำบุญเอาตรา

๓. ทำบุญเพื่อโฆษณา             ๔.  ทำบุญเพื่อพึ่งพา

หลักของคน

๑. หลักแหล่ง                          ๒.  หลักฐาน

๓. หลักธรรม

การทำที่ดี

๑. เหมาะเจาะ                         ๒.  หมดจด

๓. ถูกบท                                ๔.  ถูกแบบ

รอยร้าวของคน

๑. โหดร้าย                              ๒.  มือไว

๓. ใจเร็ว                                 ๔.  ขี้ปด            ๕.  หมดสติ

การบริหารชีวิตที่ถูกต้อง

๑. การสร้างสรรค์                     ๒.  การปรับปรุง

๓. การแก้ไข

มารชีวิต

๑. การนอนตื่นสาย                   ๒.  ความเกียจคร้าน

๓. ความดุร้าย                          ๔.  การหลับมาก

๕. การเดินทางไกลคนเดียว     ๖.  การคบชู้  สู่สาว

ควรมีเมตตาอยู่ในฐาน

๑. ชนะใจคน                           ๒.  ชนะปัญหา

๓. ชนะเหตุการณ์                    ๔.  ชนะทุกอย่าง ทุกเมื่อ

คาถาเศรษฐี

๑. อย่านอนตื่นสาย                  ๒.  อย่าอายทำกิน

๓. อย่าหมิ่นเงินน้อย                ๔.  อย่าคอยวาสนา

ปมด้อยของการทำงาน

๑. ทำงานไม่ถูกดี                      ๒.  ทำไม่ถึงดี

๓. ทำไม่ตรงดี

กฎแห่งความจำ

๑. ความสนใจ                         ๒.  ความตั้งใจ

๓. ความสัมพันธ์                     ๔.  ความซ้ำซาก

คุณสมบัติประจำชีวิต

๑. ว่องไว                                 ๒.  มีวินัย

๓. สะอาด                               ๔.  ขยัน

๕. ร่วมใจ                                ๖. ซื่อสัตย์

๗. อดทน                                ๘.  สุภาพ

หน้าที่ของภิกษุสามเณร มี ๔ ประการ

๑. ศึกษาและปฏิบัติธรรม

๒. ประพฤติพรหมจรรย์

๓. ส่งเสริมพระพุทธศาสนา

๔. บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ประชาชนตามวิสัย

การพูดดีมีหลัก ๔ ประการ

๑. พูดจริงและเป็นประโยชน์

๒. พูดอ่อนหวาน

๓. พูดถูกกาลเทศะ

๔. พูดไม่เดือดร้อนตนและคนอื่น

บ้านจะเป็นสวรรค์ประกอบด้วยความสบาย ๔ อย่างคือ

๑. อาหารสบาย                        ๒.  ที่อยู่สบาย

๓. บุคคลสบาย                        ๔.  ธรรมสบาย

หลักการสำหรับตัดสินคำสอน และปฏิบัติที่ไม่ใช่ธรรมวินัย

๑. ความกำหนัดย้อมใจ

๒. ความประกอบทุกข์

๓. สะสมกองกิเลส

๔. ความประมาท

๕. ความไม่ยินดีด้วยของตามมีตามได้ (ไม่สันโดษ)

๖. ความเกียจคร้าน

๗. ความเลี้ยงยาก

คำว่านิยมประชาธิปไตย

๑. เป็นคนหนักแน่นไม่หูเบา

๒. การมีทัศนะที่ดีต่อคนอื่น

๓. การยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น

๔. รู้แพ้  รู้ชนะ

ประโยชน์ของการบวช

๑. ช่วยให้ละพยศ                     ๒.  ลดมานะ

๓. ดับความร้อน                      ๔.  ถอนความเมา

๕. ช่วยประเทศชาติ                 ๖.  เป็นญาติในพระพุทธศาสนา

๗. ทดแทนคุณบิดา มารดา     ๘.  ได้ชื่อว่าเป็นคนสุข

๙. ดับทุกข์ภัย                        ๑๐.  จิตใจสะอาด สว่าง สงบ

สูตรความสำเร็จ

ความชอบ  X ความสามารถ =  ความสำเร็จ

ดวง (ดีหรือเลว)

ด  =  คือ  ดี  (ความดี)

ว  =  คือ  วิชา (ความรู้)

ง  =  คือ  งาน (ทำงานดีไม่มีโทษ)

ดวงไม่ดี

ด  =  คือ  ดื้อ (ดื้อ ดึง ด้าน)

ว  =  คือ  วุ่นวาย

ง  =  คือ  โง่  (รวมแล้วเป็นดวงเลวคือไม่ดี)

ลักษณะเข้ากับคน

๑. ยิ้ม                        

๒. เอาใจใส่ผู้อื่นบ้าง

๓. พูดจาไพเราะ

๔. หัดเป็นผู้ฟังบ้าง

๕. สนทนาในเรื่องอีกฝ่ายหนึ่งสนใจ

๖. อย่าไปชี้ว่าใครเป็นคนผิด

คาถา "สู้" เพื่ออยู่รอดแนวหนึ่ง

"เรียน"         ให้รู้ทัน   ขยัน  ประหยัด

"สัจจ"          ชื่อ  ถือสามัคคี  มีความพร้อมเพรียง

"เลี่ยงอบายมุข" ขลุกอยู่กับงาน  เพื่อการเจนจัด

วัตถุประสงค์ของการพูด
อาจจำแนกออกกว้าง ๆ ให้ ๗ ประการ

๑. เพื่อให้เกิดความรู้

๒. เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

๓. เพื่อระบายความในใจที่กลัดกลุ้มออกไปจะได้สบาย

๔. เพื่อให้เกิดความสนุกสนานบันเทิง

๕. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามปัญหา ข้อสงสัย

๖. เพื่อเร้าใจ และจูงใจ เป็นการพูดเพื่อดึงความสนใจ

ผู้ฟังที่ดีมีลักษณะดังนี้

๑. ตั้งใจและมีสมาธิในการฟัง ควรจดเนื้อหาใจความสำคัญไว้ด้วย

๒. ติดตามเรื่องได้ตลอด

๓. ฟังด้วยคิด ประเมินผล และมีวิจารณญาณ

๔. ฟังโดยไม่ตาเป็นทาสของอารมณ์ หรือเป็นผู้ฟังที่ไร้เหตุผล

๕. พึงฟังในสิ่งที่ควรฟัง คือ รู้จักฟัง

๖. ขณะฟังไม่ควรคิดล่วงหน้าว่าผู้พูดจะพูดอะไรต่อไป

๗. ไม่บังควรสอดแทรกเมื่อผู้พูดหยุดหายใจ

องค์ประกอบสำคัญของการพูดได้แก่

๑. ผู้พูด

๑.๑.  เตรียมการเตรียมใจ

๑.๒.  สร้างบุคลิกลักษณะ

๑.๓.  การใช้เสียง

๑.๔.  การออกเสียง

๑.๕.  ภาษาที่ใช้

๒. ผู้ฟัง

๒.๑.  คนฟังที่เป็นมิตร

๒.๒.  คนฟังที่ไม่สนใจ

๒.๓.  คนฟังที่ไม่มีความริเริ่ม

๒.๔.  คนฟังที่เป็นกลาง

๒.๕.  คนฟังที่เป็นศัตรู

๓. เรื่องที่จะพูด

 

พูดเป็นมีลักษณะ ๔ ประการ

๑. เนื้อหาสาระดี                      ๒.  มีวาทศิลป์

๓. มีบุคลิกลักษณะดี               ๔.  มีความจริงใจ

พูดไม่เป็นมีลักษณะ ๔ ประการ

๑. พูดยาวไป                           ๒.  พูดสั้นไป

๓. พูดไม่ชวนฟัง                     ๔.  พูดไม่รู้เรื่อง

หนทางไปสู่ความสำเร็จในการพูดมี ๒๗ ประการ

๑. เตรียมตัวให้พร้อม

๒. รับผิดชอบต่อเวลาที่ประชุม

๓. มีความกระตือรือร้นที่จะพูดให้ดีที่สุด

๔. เชื่อมั่นตนเองและการพูดที่ได้เตรียมมา

๕. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ไม่ฉูดฉาดรุ่มร่าม หรือมีเครื่องประดับมากเกินไป

๖. จำได้ดีว่าจะกล่าวกับผู้ฟังในประโยคแรกว่าอะไร

๗. เตรียมเฉพาะอุปกรณ์ที่จำเป็นในการพูดให้พร้อม

๘. จำจุดมุ่งหมายของการพูดของตนในขณะนั้นไว้ให้มั่นคง

๙. อย่าอิดเอื้อนชักช้า เมื่อได้รับเชิญให้พูด

๑o. มีความเป็นกันเองกับผู้ฟัง

๑๑. ทักทายพิธีกรและผู้ฟังได้ถูกต้อง

๑๒. อย่างเริ่มการพูดด้วยการออกตัว ขออภัย

๑๓. อย่าพูดอุบอิบอ้อมแอ้มในลำคอ หรือใช้เสียงเบาเกินไป

๑๔. อย่างทำท่าทางหลุกหลิก ล้วงแคะแกะเกาให้เป็นที่รำคาญ

๑๕. อย่าหลบสายตาผู้ฟัง

๑๖. อย่างใช้ถ้อยคำก้าวร้าว เสียดสีดูหมิ่นผู้ฟัง

๑๗. อย่าคุยโว โอ้อวดตัวเอง

๑๘. อย่าดูหมิ่นสถาบันอันควรเคารพ

๑๙. อย่างชี้หน้าผู้ฟัง

๒o. อย่าพูดไม่รู้จักจบ

๒๑. อย่าเสแสร้งเพราะการพูดไม่ใช่การซ้อมละคร

๒๒. เปิดเผยและจริงใจ

๒๓. จบการพูดให้น่าประทับใจ

๒๔. เดินลงจากเวทีด้วยความสง่าผ่าเผย

๒๕. ควบคุมจิตใจให้สงบ

๒๖. บันทึกข้อบกพร่อง เพื่อพิจารณาแก้ไขหาทางทำให้ดีขึ้น

๒๗. อย่างหลงระเริงต่อคำสรรเสริญเยินยอ ของผู้ที่ปราศจากความจริงใจ

ขณะพูดมีข้อปฏิบัติ ๑๒ ประการ

๑. การตรงต่อเวลา

๒. การก้าวขึ้นสู่เวทีพูด

๓. ระมัดระวังเรื่องการแต่งกาย

๔. ให้เกียรติผู้ฟัง

๕. ควรประสานสายตากับผู้ฟังโดยทั่ว ๆ ไป

๖. การใช้ภาษาสุภาพ

๗. ตัวอย่าง ข้ออ้างอิง จะต้องชัดเจน

๘. ลีลาการพูดควรให้เหมาะสอดคล้องกับเรื่อง

๙. คอยสังเกตปฏิกิริยาจากผู้ฟัง

๑o. ไม่ควรพูดแข่งกับเสียงหัวเราะ หรือเสียงปรบมือ

๑๑. การทิ้งท้ายให้ผู้ฟังเก็บเอาไว้คิด

๑๒. พูดตามที่ตั้งใจไว้

นอกจากข้อปฏิบัติทั่ว ๆ ไป ๑๒ ข้อนี้
แล้วควรคำนึงถึง ๕ ข้อ

๑. การพูดให้ถูกแบบของเรื่อง

๒. ปัญหาผู้ฟังที่กำลังประจันหน้า

๓. การสร้างความสนใจ

๔. การสร้างความชื่นชอบ

๕. การใช้อารมณ์ขัน

การสร้างความชื่นชอบ
      ในหนังสือพูดได้ - พูดเป็น ของทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ แนะนำสั้น ๆ ไว้ ๑๒ ประการดังนี้

๑. จงบอกถึงความภูมิใจที่ได้มาพูด

๒. จงยกย่องผู้ฟังด้วยนำใสใจจริง

๓. ควรพูดนอบน้อมถ่อมตัว อย่ายกตน

๔. ควรใช้คำว่า "พวกเรา" แทนคำว่า "พวกคุณ"

๕. ควรละเว้นการแสดงสีหน้าที่ดุดัน

๖. ควรละเว้นการพูดด้วยน้ำเสียงที่แข็งกร้าว

๗. ต้องเพลิดเพลินไปกับการพูด

๘. จงพูดในสิ่งที่ผู้ฟังสนใจ

๙. อย่ากล่าวคำแก้ตัวหรือขอโทษ

๑o. จงเร้าอารมณ์ที่แสดงออกถึงคุณธรรม

๑๑. จงน้อมรับคำวิจารณ์อย่าแสดงความไม่พอใจ

๑๒. จงพูดออกมาประสาซื่อ จริงใจ ไม่เห็นแก่ตัว

การใช้อารมณ์ขัน

๑. ต้องพูดให้ได้ยินทั่วกัน

๒. พูดได้กระชับ อย่าพูดอย่างน้ำท่วมทุ่ง

๓. พูดให้น่าสนุก อย่างพูดอ่อย ๆ ช้า ๆ แต่มีการเน้นช้าบ้างเร็วบ้างสลับกัน

๔. จงแสดงอาการแจ่มใส

๕. จงแสดงความเป็นกันเองกับผู้ฟัง

คำถามสำหรับนักพูด
ก่อนพูด

๑. ท่านทราบหรือยังว่าจะพูดเรื่องอะไร ?

๒. ท่านเตรียมแผนการพูดให้เกิดความมั่นใจหรือยัง ?

๓. ท่านทราบหรือยังว่าจะพูดกับใคร ?

๔. ท่านแน่ใจแล้วหรือว่าเลือกเรื่องเหมาะกับผู้ฟัง ?

๕. ผู้ที่จะฟังท่านมีจำนวนเท่าใด ?

๖. เวลาที่กำหนดให้พูดนานเท่าได ?

๗. สถานทีจะพูดอยู่ที่ไหนมีสภาพอย่างไร ?

๘. แต่งกายอย่างไรจึงจะเหมาะกับกาลเทศะ

๙. ท่านค้นคว้าถึงเรื่องที่จะพูดได้กว้างขวางเพียงใด ?

๑o. ท่านหวั่นเกรงหรือพร้อมที่จะตอบข้อซักถามบ้างไหม ?

๑๑. ท่านต้องปรับปรุงเกี่ยวกับเสียงในการพูดครั้งนี้หรือไม่ ?

๑๒. ท่านรู้สึกว่าผู้ฟังมีความรู้น้อยกว่าท่านจะพูดอย่างไร หรือไม่ ?

๑๓. ท่านมีสุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะไปพูดตามวัน เวลา หรือไม่ ?

๑๔. ท่านจะปลีกเวลาจากธุระกังวลใจอื่น ๆ ได้ในวันกำหนดพูดหรือไม่ ?

๑๕. ท่านได้สรรหาคำขึ้นต้นและลงท้ายไว้พร้อมแล้วหรือยัง ?

๑๖. คำพูดที่ท่านเตรียมไว้จะทำให้ท่านพูดขึ้นต้นได้ตื่นเต้นและจบได้จับใจมากน้อยเพียงใด ?

๑๗. ท่านแม่นยำในคำขึ้นต้นและลงท้ายแล้วหรือ ?

หลักการพูด

๑. ปฏิกิริยาของผู้ฟังทั่ว ๆ ไปเป็นอย่างไร ?

๒. ท่านปรากฏตัวด้วยความมั่นใจเพียงใด ?

๓. ท่านแต่งกายได้เหมาะกับที่ประชุมหรือเปล่า ?

๔. คำเริ่มต้นได้รับการสนองตอบจากผู้ฟังตามที่คาดหรือไม่ ?

๕. การเริ่มเรื่องของท่านเยิ้นเยื้อและวกวนหรือเปล่า ?

๖. กระแสเสียงของท่านเป็นอย่างไร ?

๗. น้ำเสียงของท่านเข้ากับเรื่องหรือไม่ ?

๘. ท่านพูดผิดมากน้อยเพียงใด ?

๙. ท่านพูดได้ตรงเรื่องที่เตรียมหรือไม่ ?

๑o. ท่านใช้สายตาสื่อความได้ดีหรือไม่ ?

๑๑. ท่านใช้ท่าทางประกอบเข้ากับเนื้อเรื่องหรือไม่ ?

๑๒. ท่านเรียงเนื้อเรื่องไปตามลำดับหรือไม่ ?

๑๓. การพูดของท่านสร้างภาพพจน์ให้กับผู้ฟังบ้างหรือไม่ ?

๑๔. คำพูดของท่านเป็นที่เร้าใจและแสดงความจริงใจต่อผู้ฟังเพียงใด ?

๑๕. เนื้อหาสาระที่ท่านพูดมีคุณค่าต่อผู้ฟังตามที่ท่านเตรียมหรือเปล่า ?

๑๖. ท่านสรุปจบได้จับใจเพียงใด ?

๑๗. ท่านคิดว่าการพูดของท่านบรรลุความมุ่งหมายหรือไม่ ?

๑๘. คำพูดของท่านเป็นที่สบอารมณ์ของผู้ฟังเพียงใด ?

๑๙. ท่านสร้างอารมณ์ขัน ครึกครื้น ให้แก่ผู้ฟังบ้างหรือไม่ ?

๒o. หลักจากท่านพูดจบ ผู้ฟังยังรู้สึกว่าใครจะฟังต่อหรือไม่ ?

๒๑. มีผู้ฟังหลับในระหว่างท่านพูดหรือไม่ ?

๒๒. ท่านใช้เวลาพูดมากน้อย พอดีหรือไม่ ?

๒๓. ท่านพูดอึกอัก อ้าเอ้อ  ตลอดเวลาหรือเปล่า ?

๒๔. ท่านแสดงกิริยา  ล้วงแคะ แกะเกา ระหว่างพูดหรือเปล่า ?

๒๕. ท่านยังมีความหวังและกล้าพูดต่อหน้าชุมนุมชนอีกต่อไปหรือไม่ ?

หัวข้อธรรมะในการปาฐกถา อภิปราย และสนทนา

๑. สวัสดิภาพของชีวิต

๒. พระพุทธศาสนากับการพัฒนา

๓. พระสงฆ์กับสังคมไทย

๔. เราจะช่วยชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อย่างไร ?

๕. การเข้าถึงพุทธรรม

๖. อบายมุขกับปัญหาสังคม

๗. ค่าของคน

๘. กิเลสทำลายโลก

๙. สนิมสังคม

๑o. สนิมใจ

๑๑. เดินทางเตียนเวียนลงนรก เดินทางรกวกขึ้นสวรรค์

๑๒. เปลือกและแก่นของพระพุทธศาสนา

๑๓. การทำบุญที่ถูกต้อง

๑๔. จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

๑๕. ที่พึ่งอันแท้จริงของชาวพุทธ

๑๖. กัมมัฎฐาน จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน

๑๗. ผู้ทำลายพระพุทธศาสนา

๑๘. พระพุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน

๑๙. พระพุทธศาสนากับความมั่นคงของชาติ

๒o. พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

๒๑. ค่านิยมที่ทำลายศีลธรรม

๒๒. ศีลธรรมแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้

๒๓. คุณสมบัติผู้นำ

๒๔. พระพุทธศาสนากับการบริหาร

๒๕. พระพุทธศาสนากับการศึกษา

๒๖. อบายมุขกับปัญหาสังคม

๒๗. พระพุทธศาสนาแก้อบายมุขได้

๒๘. สงครามจิต

๒๙. ธรรมะกับชีวิตประจำวัน

๓o. อาหารใจ

๓๑. เวทีชีวิต

๓๒. ไฟมหาประลัยไหม้โลก

๓๓. ผู้หนักแผ่นดิน

๓๔. พระพุทธศาสนากับเยาวชน

๓๕. ดีสากล

๓๖. ศีลธรรมแก้ปัญหาสังคมได้

๓๗. ปัญหาสังคมและวิธีแก้

๓๘. ผู้บันดาลชีวิต

๓๙. กิเลสคน

๔o. เครื่องประดับชีวิต

๔๑. ของดีในพระไตรปิฎก

๔๒. จุดยืนของประชาชน

๔๓. นรกสวรรค์เป็นเรื่องเหลวไหลจริงหรือ

๔๔. ชัยชนะของพระพุทธเจ้า

๔๕. มงคลที่แท้จริง

๔๖. ทางเข้าถึงประชาชน

๔๗. ๙ ร, ส, ๕

๔๘. ๓ ดี, ๔ พัฒนา, ๕ พลัง

๔๙. ค. ๓, งาน ๔, ดี ๕

๕o. ๑, ๓, ๘

๕๑. ก้าวให้ทันโลก

๕๒. คนเหนือโลก

๕๓. ภัยของพระพุทธศาสนา

๕๔. แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง

๕๕. พระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย

๕๖. มืดภายนอก เพราะขาดไฟ มือภายในเพราะขาดปัญญา

๕๗. เป็นสุขทุกเวลาเมื่อหันหน้าปฏิบัติธรรม

๕๘. ทันโลกทันเหตุการณ์ สุขสำราญเมื่อปฏิบัติ

๕๙. ความสวยไม่คงที่ แต่ความดีนั้นคงทน

๖o. คนไม่มีศีลธรรม ก็เหมือนแผ่นดินไม่มีน้ำ

๖๑. ยากจนเพราะติดอบายมุข มีทุกข์เพราะไม่ปฏิบัติธรรม

๖๒. ปัญญาพาตนให้ฉลาด คนขี้ขลาดกลัวปัญหา

๖๓. ดีเราก็รู้ รู้มิใช่ดี ดีมิใช่รู้

๖๔. หมดลมหมดเรื่อง มีลมมีเรื่อง

๖๕. พุทธวิธีตรองใจคน

๖๖. มองข้างนอก มองข้างใน

๖๗. หย่อนความกดอารมณ์ต่ำ

๖๘. ธรรมะไม่มาโลกาจะพินาศ

๖๙. ธรรมะไม่มี ความอัปรีย์จะเกิดขึ้น

๗o. จัญไร ไฟไหม้

๗๑. ความรู้ คู่ความดี

๗๒. ปฏิบัติธรรมสำคัญอยู่ที่จิต

๗๓. จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้

๗๔. การเลื่อนชั้นของจิต

๗๕. มิ่งขวัญของชาวไทย

๗๖. สามัคคีคือพลัง ความตั้งมั่น

๗๗. หลักการสร้างความมั่นคงก้าวหน้าให้กับชีวิต

๗๘. รักษาสามปลายก็จะหายสามโทษ

๗๙. สิ้นธรรมสิ้นดี สิ้นสามัคคีสิ้นชาติ

๘o. คุณธรรมของครู

๘๑. พึ่งตนเอง อย่าปฏิบัติตนเปรียบเหมือนเถาวัลย์ และกาฝาก

๘๒. ธรรมะอยู่ในตู้  สู้ธรรมอยู่ในตัวไม่ได้

๘๓. ตาสว่างเพราะแสงไฟ ใจสว่างเพราะแสงธรรม

๘๔. ธรรมะช่วยไทยให้อยู่รอด

๘๕. เยาวชนคือพลังสำคัญของชาติ ศาสน์ กษัตริย์

๘๖. ทางเดินชีวิต

๘๗. ไทยรุ่งเรืองเพราะประชาชนสามัคคี

๘๘. หัวใจเศรษฐี

๘๙. หลักการสร้างสัมพันธภาพ

๙o. ธรรมะกับข้าราชการ

๙๑. ธรรมะสำหรับผู้นำ

๙๒. ธรรมะกับอีสานเขียว

๙๓. ธรรมะกับทายาทที่ดี

๙๔. ศาสนาจะเจริญเพราะพระแท้ ศาสนาจะแย่เพราะพระปลอม

๙๕. ตามรอยพระบรมศาสดา

๙๖. เห็นง่ายอย่างประมาท เห็นยากอย่าท้อถอย

๙๗. ชาวพุทธต้องรักษา ๔ ศา.

๙๘. พัฒนาหัวใจ ๔ ห้อง

๙๙. ธรรมเข้าถึงคน คนเข้าถึงธรรม

๑oo. รู้ ๓ เห็น ๓ ชีวิตมีสุข

๑o๑. หัวใจของพระพุทธศาสนา

ของฝากจากศูนย์พระธรรมกถึก

๑. ตาสว่างเพราะแสงไฟ ใจสว่างเพราะแสงธรรม

๒. มืดภายนอกเพราะขาดไฟ มืดภายในเพราะขาดปัญญา

๓. ทำอะไรก็ไม่ดีถ้าไม่มีการพัฒนาจิต ทำอะไรก็ติดถ้าจิตไม่พัฒนา

๔. ธรรมใดก็มีค่าถ้าปฏิบัติ ธรรมใดก็ไร้ค่าถ้าไม่ปฏิบัติ

๕. เป็นสุขทุกเวลาเมื่อหันหน้าปฏิบัติธรรม

๖. ทันโลกทันเหตุการณ์ สุขสำราญเมื่อปฏิบัติธรรม

๗. ดวงใจไร้คุณธรรม ดวงใจจะชอกช้ำจนวันตาย

๘. คนไม่มีศีลธรรม เหมือนแผ่นดินไม่มีน้ำ

๙. สิ้นธรรมสิ้นดี สิ้นสามัคคีสิ้นชาติ

๑o. ไทยเป็นไทยเพราะไทยมีธรรม ไทยเป็นทาสเพราะไทยขาดธรรม

๑๑. คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วพาตัวอัปราชัย

๑๒. ถ้าทำงานเห็นแก่หน้า จะพบปัญหาเรื่อยไป

๑๓. ถ้าทำงานเห็นแก่หน้าจะพบปัญหาเรื่อยไป

๑๔. ลำบากเพราะการงาน ดีกว่าสุขสำราญแล้วกลุ้มใจ

๑๕. ถ้าอยากเป็นคนมีอำนาจ อย่าขาดคุณธรรม

๑๖. ความวิบัติของชาติ คือประชาชาติแตกสามัคคี

๑๗. มีธรรมะเป็นอำนาจ จะปราศจากภัย

๑๘. กินเหล้าเพื่อเข้าสังคม คือค่านิยมที่ผิด

๑๙. โลกจะลุกเป็นไฟ ถ้าใจขาดคุณธรรม

๒o. อย่าข้ามคนล้ม อย่าข่มคนรู้ อย่าขู่คนกล้า อย่าท้าคนพาล

๒๑. พึงชนะผู้น้อยด้วยการให้ พึงชนะผู้ใหญ่ด้วยการอ่อนโยน

๒๒. ไม้เท้าของคนเฒ่าดีกว่าลูกเต้าอกตัญญู

๒๓. ดูคนดีที่การกระทำ ดูผู้นำดีที่การเสียสละ

๒๔. คนเกียจคร้านไม่ทำงาน คือคนพิการสากล

๒๕. อามิสเป็นเพียงสิ่งอาศัย ความสุขใจอยู่ที่ความสงบสุข

๒๖. การรู้จักปล่อยวาง เป็นวิถีแห่งความสงบสุข

๒๗. สังคมชั่วทำให้คนเป็นผี สังคมทีทำให้ผีเฝ้าคน

๒๘. ระวังศัตรูมาในรูปมิตร ระวังยาพิษมาในรูปขนมหว่าน

๒๙. ง่ายเมื่อคิด ติดขัดเมื่อทำ สำเร็จเมื่อพยายาม

๓o. ฆ่าสัตว์ ฆ่ามนุษย์ ได้รับโทษ ฆ่าความโกรธได้บุญ

๓๑. ชีวิตคือการต่อสู้ จงเป็นอยู่ด้วยความอดทน

๓๒. ถ้าพูดพล่อย ๆ จะเสื่อถอยความศรัทธา

๓๓. ถ้าเห็นแก่คุณธรรมสุขเลิศล้ำตลอดกาล

๓๔. เลิกความชั่วเมื่อใดจะสุขใจเมื่อนั้น

๓๕. คิดทุกอย่างที่จะทำแต่อย่าทำทุกอย่างที่คิด

๓๖. คนโง่ไม่ให้ทานเพราะกลัวจนแต่เพราะกลัวจนคนฉลาดจึงให้ทาน

๓๗. ทำวันละนิดดีกว่าว่าจะทำ

๓๘. ตายเพื่ออยู่ ดีกว่าอยู่เพื่อตาย

๓๙. ธรรมที่แท้อยู่ที่ตัวเรา ธรรมที่เป็นเงาอยู่ที่ตัวหนังสือ

๔o. โลกนี้สับสนเพราะคนมุ่งรบ โลกนี้สงบเพราะคนเคารพธรรม

๔๑. ศาสนารุ่งเรืองเพราะมีพระแท้ศาสนาจะแย่เพราะมีพระปลอม

๔๒. เมตตาธิคุณ คือบุญอันยิ่งใหญ่

๔๓. ธรรมอยู่ที่ไหนประชาธิปไตยอยู่ที่นั่น

๔๔. เหนื่อยกายหลับสนิท เหนื่อยจิตหลับไม่ลง

๔๕. โลกไม่สิ้นคนดี ปฐพีไม่สิ้นคนทราม

๔๖. รู้ธรรม พ้นโศรก รู้โลกพ้นภัย รู้พัฒนาจิตใจ มีความสุข

๔๗. ธรรมแต่งใจ วินัยแต่งตัว

๔๘. ก้าวหนึ่งที่พลาดไป คือก้าวใหม่ที่มั่นคง

๔๙. ปัญหาพาคนให้ฉลาด คนขี่ขลาดกลัวปัญหา

๕o. ธรรมอยู่ในตู้ไหนจะสู้ธรรมอยู่ในตัว

๕๑. มารไม่มีบารมีไม่แก่

๕๒. ความสวยไม่คงที่ แต่ความดีนั้นคงทน

๕๓. รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง

๕๔. ความเกียจคร้าน คือโรงงานผลิตคนโง่

๕๕. ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม

๕๖. อวดเก่งด้วยการสร้างความดี อวดมั่งมีด้วยการสงเคราะห์ญาติ

๕๗. อยู่ให้เขารัก จากไปให้เขาคิดถึง

๕๘. ฟังดี มีคติ ติดปรึกษา หาเครื่องโน๊ต หัวใจนักเรียน

๕๙. เห็นง่ายอย่าประมาท เห็นยากอย่าท้อถอย

๖o. เดินทางเตียนเวียนลงนรก เดินทางรกวกขึ้นสวรรค์

๖๑. ชีวิตที่สดใส เริ่มจากใจที่เบิกบาน

๖๒. ตัวอย่างที่ดีดีกว่าคำสอน การปฏิบัติดีดีกว่าขอพร

๖๓. ชนะคนอื่นคือชนะที่จอมปลอม ชนะตนคือชนะที่แท้จริง

๖๔. ไม่มีกฎหมายไม่มีความคิด ไม่มีความผิดไม่มีวินัย

๖๕. มนุษย์และสัตว์ต่างกันที่การศึกษา

๖๖. จงทำดีให้ดี อย่าทำดีบังหน้า

๖๗. รู้คุณ ตอบแทนคุณ คือคนดี

๖๘. ชั่วเขาให้ขี้  ดีเขาให้แก้ว

๖๙. ขยันหา รักษาไว้ใช้จ่ายพอดี มีมิตรแท้ รวย

๗o. ยอกลำบากเมื่อยามหนุ่ม ดีกว่ากลุ้มใจเมื่อยามแก่

๗๑. หลงทางเสียเวลา หลงกิเลสตันหาเสียคน

๗๒. บาปเป็นภัยแก่ชีวิต เป็นพิษต่อสังคม

๗๓. บุญให้ความสุขแก่ชีวิต สร้างดวงจิตให้ผ่องใส

๗๔. โจรในวิหาร อันธพาลในเครื่องแบบ อันตรายมาก

๗๕. อ่อนเหมือนเส้นไหม แข็งเหมือนเพชร

๗๖. ศีลทำให้สะอาด สมาธิทำให้สงบ ปัญญาทำให้สว่าง

๗๗. เกลือไม่เค็มปลาเน่า

๗๘. ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ก็เสียคน

๗๙. ความดีไม่มีขา ถ้าอยากได้หาเอา

๘o. สุขทุกข์ช่างปะไร เป็นวิสัยมนุษย์ปุทุชน

๘๑. กินเพื่ออยู่ อยู่เพื่อการศึกษา ศึกษาเพื่ออนาคต

๘๒. สู้จนตาย ถ้าไม่ตายก็ขอให้ได้ดี ถ้าไม่ได้ดีก็ให้มันตาย

๘๓. ไปช้า ๆ แต่ให้มั่นคง มีประสงค์คงได้สมอารมณ์เอย

๘๔. เสน่ห์และอำนาจ  จะรวมอยู่ในบุคคลที่อ่อนน้อมถ่อมตน

๘๕. พระพุทธศาสนาไม่ใช่ยาเสพติด แต่เป็นยารักษาจิต

๘๖. จิตของปุถุชนบางครั้งเป็นยักษ์ บางครั้งเป็นมาร บางกาลเป็นเปรด

๘๗. การทำดีทำได้ทุกโอกาส แต่เพราะประมาทจึงพลาดจากความดี

๘๘. คิดก่อนพูดดีกว่าพูดก่อนคิด หากผิดแก้ยาก

๘๙. นักพูดต้องรู้จักขอบเขต นักเทศน์ต้องรู้จักเวลา นักศรัทธาต้องรู้จักกำลัง

๙o. ชีวิตพระ - เณร อยู่ง่าย กินง่าย จิตใจสูง

๙๑. นักบริหารที่ดีต้องมีหัวการเมือง สิ้นการฑูต

๙๒. การงานนั้น ต้องใช้สมองคิดวางแผน

๙๓. การได้ชีวิตเกิดมาเป้ฯคนนั้นเป็นต้นทุน การสร้างบุญสร้างกุศลเป็นกำไร

๙๔. เมตตาเกินประมาณ อันธพาลทั่วเมือง

๙๕. รักชาติ รักอำนาจ ต้องมีหลักธรรมกำกับ

๙๖. สุวิชาโน ภวํ โหติ ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ

๙๗. พยายามสร้างชีวิต ชนิดที่ว่า มองข้างหน้ามีความหวัง มองข้างหลังมีความสุข

๙๘. ทุกชีวิตต้องมีคุณธรรม คุณภาพ คุณประโยชน์

๙๙. ดื้อดึงต้องใช้คำสั่ง ดื้อด้านต้องใช้คำสอน

๑oo. อย่ารักษาแต่หน้า ขอให้รักษาหน้าที่ให้ดี

๑o๑. วางแผน เดินตามแผน ติดตามผล ปรับปรุงแก้ไข

ภาษิตโบราณอีสาน (ผะหยา)

๑. สามัคคีกันไว้คือข้าวเหนียวนึ่งใหม่ อย่าให้เพแตกม้าง คือ น้ำถือข้าวเหนียว

๒. สามัคคีกันไว้คือฝนเสน่หา ตกลงมาจากฟ้าไหล โฮมโห่งอยู่หนอง

๓. สามัคคีกันไว้คือฮังผึ้งใหญ่ บินเข้าสู่ป่าไม้กะโงเข้าสู่ฮัง

๔. ไม่ลำเดียวล้อมฮั่วบ่ข่อย พี่น้องบ่อช่วยแปลงบ้านบ่เฮือง

๕. งานหนักโฮมแฮง เข่านำกันมักกะง่าย งานหนักช่วยแบกอุ้มไปได้ง่ายดาย

๖. ปางไผไว้ปางมันไว้สาก่อน ปางข้าวต้มปางกล้วยหากสิมี

๗. เฮือติดแก่งเกวียนเห็นให้เกวียนแก่ บาดว่า ฮอดท่าน้ำเฮือสิได้แก่เกวียน

๘. ทางหลวงกว้างอย่าไปเที่ยวทางขอก หมกปลาแดกตั้งโจ้โก้อย่าไปจ้ำแต่ตอง

๙. แดดแฮงใหม่กกขาไว ๆ ฟ่าวเข่าฮม อย่าสิเมาแต่พั่วมักหว่ามันสิช้าค่ำทาง

๑o. ต้นไม้ใหญ่หงำนา คนบ่พัฒนาหงำเมือง

๑๑. หนูกินม่อนจั๊กนึกเห็นคุณแมว ลูกแขนแอวจั๊งเห็นคุณพ่อแม่

๑๒. ไฟใหม่บ้านจั๊งนึกเห็นหน้าหนู น่ำ ถ้วม ฮูจั๊งเห็นจี๊ลอ

๑๓. อัศจรรย์ใจแข่หางยาวๆ บ่อได้ฮองนั่ง บาดกระต๊ายขาก้อมๆ สั่งมาได้นั่งฮอง

๑๔. แนวเสือเฒ่าจำศีลอย่าฟ้าวเชื่อ ลางเทือเห็นหมู่เนื้อศีลสิม่างแตกกระเด็น

๑๕. ชื่อว่าแนวเด็กน้อยตากอๆ ความคิดหม่อได้กอ ขอ ข่อหล่อ ความว่าผัดอยู่ด้าว

๑๖. คันเฮาทำดีแล้วเขาชังกะตามซาง คันเฮาเฮ็ดแมนแล้วหยัน หย่อกะซางเขา

๑๗. เด็กน่อยมีความฮู้สองสามความมันกะอ๊ง ผู้ใหญ่ฮู่ตั้งล่าน  กะอำไว่บ่ค่อยไข

๑๘. เป็นราชสีห์วันเดียว ดีกว่าเป็นลาโง่หนึ่งปี

๑๙. ทุกข์เพิน บ่ว่าดี มีเพินจั๊งว่าพี่น้อง ลุงป้าจั๊งวาหลาน

๒o. คั่นแม่นมีควมฮู่พาโลเอ็ดบ่แม่น ควมฮู่ทอแผ่นฟ้าเป็นบ้าท่อแผ่นดิน

๒๑. ตกว่าเป็นเสือแล้วลายบ่อลายเขากะตู๊ให้ฟ้าวหาเข่าหมั่นมาแต้มตึ๊มลาย

๒๒. ข้าวดีถามหาข้าวปลูก ลูกดีถามหาพ่อแม่

๒๓. บ่อนเข็ดให้ยำ บ่อนขะลำให้ย่าย

๒๔. บ่อมีความฮู่อย่าเว่าการเมือง บ่นุ่งผ้าเหลืองอย่าเว่าการวัด

๒๕. ปลาออกแหปลาโตใหญ่ ไม่อยู่ไฮไม้ลำงาม

๒๖. เผื่อเหนือตกใต้ ไหลลงมากะพอแม่น

๒๗. ได้อย่าหย่าม บ่ได้อย่าหลาบ

๒๘. ซื่อทอซ่าง ฮางทอแมว

๒๙. ช้างสิตายท่าวเครือ เสื่อสิตายท่วงพุ่ม

๓o. แนวนามเชื้อทำทานปล้องถี่ คันได้ตอดพี่น้องบ่ทันได้สั่งใผ

๓๑. ป่าสวนอ้อยหนีไปชมหม้อปลาแดก ป๋าเล้าข้าวไว้หนีไปซ่นป่ากล้วย

๓๒. บ่อยากหนีไกลข้างความดีผั่นดึงจ่อง บ่อยากไกลพี่น้องความฮู่ผั่นจ่องไป

๓๓. ว่าแม่นตอกระยูงแล้วแมวสีสังมาโค่น ว่าแม่นจิกแก่นหล่อนสั่งมาปิ้นป่งใบ

๓๔. นุ่งผ้าลายหมาเห่า เว้าความเก่าเหล่าผิดกัน

๓๕. หนักซ่อยกันหาบ หยาบซ่อนกันดึง

๓๖. ผู้ใหญ่ดึง ผู้น้อยดัน พี่น้องร่วมกันสนับสนุน

๓๗. บ้านใกล้ป่า ได้อยู่เฮือนแพ บ้านใกล้เซใกล้มูลบ่ได้กินปลาแดก

๓๘. บ้างใกล้บ่ออึดเกลือ ไปทางเฮือกอึดน้ำ

๓๙. แนวนามเสือสิงดงปล้องห่าง พิษบ่อฮ้ายกลายใกล้เพิ่มบ่กลัว

๔o. แนวมันมีบักเขือหำม้า บ่อมีผู้กล้ามันเกิดมาเอง

๔๑. คันสิคอยแต่บุญมาค่ำบ่อมาทำการก็บ่แม่น คอยแต่บุญส่งให้มันสิได้อ่อนใด

๔๒. บุญมีได้เป็นนายให้เขาเพิ่ง คันแม่นบุญบ่พร้อมแสนสิดิ้นก็เปล่าดาย

๔๓. ผู้ใหญ่เจ็บในเนื้อตนตัวกะพออยู่ เด็กน้อยปวดท้องขึ้หูซี้แล่นทั่วเมือง

๔๔. ตามใจน้ำไหลไปตามฮ่อง บ่ห่วนไหลผ่านชั้นเมืองฟ้ายอดดอย

๔๕. ทำตนให้คือกันกับนกเจ่า บาดห่าบินผ่าฟ้าขาวแจ้งจั่งเห็น

๔๖. บัวอาศัยเพิ่งน้ำ ปลาเพิ่งวังตม ไพร่กับนายก็อาศัยช้างหมู่เสือ

๔๗. เสื่อสางช้างกวางฟานอาศัยป่า ป่าสิเป็นอยู่ได้ก็อาศัยช้างหมู่เสือ

๔๘. ย่างนำก้นผู้ใหญ่หมาบ่กัด ย่างนำก้นผู้เฒ่าผีเป้าบ่กิน

๔๙. ตาดีไปคล้องช้างสามคืนมาเปล่า ตาบอดไปคล้องช้างคราวมือขี่มา

๕o. สังพากันโตนลงน้ำหากินตั้งแต่เต่า สังบ่ขึ้นโคกกว้างหาช้าค่าแพง

๕๑. มันอีอ้อนไผกะซอนเสียมใส่ มันอีมู้ไผกะหิ้วกระต่ากลาย

๕๒. ผักหมเหี้ยนฮิม่างเจ้าอย่าฟ้าวเหยียบย่ำ บาดหาถอดยอดขึ้นยังสิได้ก่ายเกิน

๕๓. ข้าวเพิ่มขาว ลูกสาวยเพิ่มแฮง แกงเพิ่มแซบ ปลาแดกเพิ่มนัว ผัวเพิ่มดี คอบเพิ่มซ่าง

๕๔. แสงไฟแจ้งบ่แทงสุริเยศ กะบองให้หมื่นเล่มบ่เทียมเท่าหน่อยพระจันทร์

๕๕. ถามเข็มแล้วถามไหมเบิ่งก่อน คั่นไหมบ่มาแผย่ก้นสนแล้วกะบ่องาม

๕๖. ตามจิผู้สิไข้ ตามใจผู้สิป่วย ตามจิตผู้เว้า ตามเจ้าผู้เอา บ่ได้จำอกให้ผิงไฟเจ้าผู้ฮู้โตนน้ำ
สิจ่มหนาวเจ้าเอย

๕๗. เฒ่าแก่แล้วเนื้อที่เหี่ยวหนังยาน หูตาเสี่ยบ่คือยังน้อย ขอให้พวกพี่น้องประชาลูกหลานแหลน
เพียรธรรมสิฮุ่งเฮืองไปหน้า

๕๘. อยู่ใกล้เกลือกินดั่ง อยู่ใกล้ครั่งย้อมครั่งบ่อแดง

๕๙. ช้างเหยียบนา พระยาเหยียบเมือง ถึงสิ้นเปลืองก็ได้ประโยชน์

๖o. กบเฝ้าดอกบัวใบปกหัวบ่ฮู้กลิ่น แมงภู่บินอยู่ฟ้าชมกลั้วกลิ่นหอม

๖๑. เฮามาพบกันสร้างอีสานให้เฮือง ฮุงให้อีสานเหลื่อมโม่งๆ คือด้ามดังมณี

๖๒. คันเจ้าเป็นใหญ่แล้วกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าสิลืมชาวนาผู้ขี่ควายคอนกล้า

๖๓. ซาตาขึ้นของขวางกะจำล่อง ซาตาตกต่ำต้อยของค้ำก็เหล่าขวาง

๖๔. ไหว้พระพุทธอย่าให้ถืกทองคำ ไหว้พระธรรมอย่าให้ถือใบลาน ไหว้พระสงฆ์อย่างให้ถึกลูกหลาน

๖๕. โพนสูงเพียงช้างบ่มีไผควบคุมก่อ มันหากเกิดจากสามัคคีปลวกน้อยโฮมก้อนก่อดิน

๖๖. บุญๆ นี้บ่ไผ่มันแจกบ่แหกผ่าได้คือ ไม้ผ่ากลางคือเฮากินข้าว เฮากินเฮาก็อิ่ม
มันบ่อไปอิ่มท้องผู้นั้นเพ่นบ่อกิน

๖๗. คันว่าได้ดีและวอย่าลืมคุณพ่อแม่เพิ่นหากเลี้ยงแต่น้อยถนอมให้ใหญ่สูง

๖๘. ลูกบ่ฟังความพ่อความแม่ผีแก่ลงหม้อนรก

๖๙. ลูกศิษย์บ่ฟังความครูบาอาจารย์ เสื่อมทรามเภท์ม้าง

๗o. คันเจ้าได้ขี้ช้างกั้งฮ่มเป็นพระยา  อย่าซิลืมชาวนาผู้ขี้ความคอนกล้า

๗๑. คันได้เป็นพระยาแล้ว อย่าลืมคุณพวกไพร่ คันได้เป็นใหญ่แล้วอย่างลืมข้าใต้แผ่นดิน

๗๒. คันได้เต่าอย่าลืมหมา คันได้เป็นพระยาอย่าลืมพี่น้อง

๗๓. ตี๋ว่าความบักเลฮ้ายประตูสวนบ่ปิดฮี ตี๋แต่แมงหวี่ฮ้ายแผลเจ้าบ่ลำเพิง

๗๔. หมอบ ๆ เข้าหัวเท่าง่ายาว ย่างโย้ง ๆ หัวถูขี้ดินแกน

๗๕. ทำงานบ่อเสร็จสิ้นอย่าถอยหลังให้เขาเหยียบ ตายขอให้ตายหน้าพุ่นเขาสิเอิ้นว่าหาญ
การงานที่อุปสรรคแสนหมู่เกิดเป็นคนต้องสู้อย่าถอยร่มหลีกหนี

๗๖. เจ้าโพธิ์ศรีเฒ่าใบดก นกบ่อแก่น หมากหากสุก มากล้นเต็มต้นนกบ่อกิน

๗๗. คันบ่อออกจากบ้านบ่เห็นแดนไกล คันบ่ไปหาเฮียนกะบ่มีความรู้

๗๘. อันว่าคนเฮานั้นอย่าตนเป็นคนถ่อย อย่าเฮ็ดคือตาลยอดด้วนปลายสิขึ้นกะบ่อมี

๗๙. คันบ่ออกจากบ้านบ่เห็นแดนไกล คันบ่ไปหาเฮียนะบ่มีความฮู้

๘o. เกลี้ยงแต่นอก ทางในแม่นหมากเดื่อ หวานนอกเนื้อในส้มจั่งหมากนาว

๘๑. นกเอี้ยงกินหมากโพธิ์ชัย แซว ๆ เสียงบ่มีโตฮ้องแซว ๆ ฮ้องโตเดียวเมิดหมู่

๘๒. ฟานกินหมากขามป้อง ไปคาคอมั่ง มังบอขี้ สามมือกระต่ายตายกระต่ายตายแล้วเห็นอ้มกะเน่านำ

๘๓. ดงกลวงบ่ฮ่อนขาดผึ้ง ดงเสอเพอบ่ฮ่นขาดหมากแหน่ง ดงบังอี่ยังจุ้มกุ้มสำไปฮ้อนฮ่อมได

๘๔. น้ำบ่อหน้า บ่เป็นตาคิดต่อถือบ่อแล้วดินแห้งไงผง

๘๕. ใจประสงค์สร้างกลางดงกะว่าท่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะว่าดง

๘๖. มีดงบ่มีเสื่อเฝ้า นานไปสิแปนเปล่า มีวัดบ่มีสงฆ์เฝ้ากุฏิเจ้าสุ่นสิพัง

๘๗. มีความฮู้เต็มพุงเพียงปาก สอนตัวเองบ่ได้ ไผ่สิย่องว่าดี

๘๘. หลายแต่ไม้ลำสิใช่บ่มี หลายแต่ดีหากบ่มีดีใช่

๘๙. อัศจรรย์เป็ดเด่ อยากงอยคอนซ้อนไก่ ตีนเป่มเป๋เป่มเป้ปีนขึ้นกะมื่นลง

๙o. กายเฮานี้อนิจจังตั้งบ่เที่ยง มันบ่ตั้งเที่ยงมั่นเสมอด้านดั่งนิพพาน

๙๑. ทุกข์ขังคืออยากเหล้า อนิจจัง ย่านเมาวิ่ง อนัตตาเป็นป่องน้ำ เตะไม่หน้าแข้งเขียว

๙๒. พระธรรมนำจิตใจให้ได้ส่อง พระธรรมคือความถืกต้องมีไว้ซุ่มเย็น

๙๓. ทุกข์บ่มีเสื้อผ้า ฝาเฮืนดีพอลี้อยู่ ทุกข์บ่มีข้าวอยู่ท้องนอนลี้อยู่บ่เป็น

๙๔. อย่าสิไลลืมถิ่นผักกะโดนต้นเก่า บาดห่าได้ลากก้อยยังสิได้อ่าวหา เจ้าเอย

๙๕. มีนาบ่มีฮ่วย ฝนบ่ฮวยสิแล้งเปล่า ข้าวสิขูเหี่ยวแห้งตายแล้งน้ำบ่มี

๙๖. อย่าสิไลลืมถิ่นพงพันพี่น้องเก่า อย่าสิละโคตรเชื้อหนีไปย่องเพิ่นดี

๙๗. ตอได๋สูงเจ้นเถิ้น คนบ่ฮ่วนซุนสุด ไผกะตาแลเห็นค่อยคอยระวังไว้ ดีต่อฝูงคนได้สดุดตำตอต่ำ
ความผิดมีโทษแท้โดยด้ามดั่งตอ

๙๘. มีเทียนบ่มีไส้ จุดไฟคือสิฮุง กายใจพร้อมสิดีได้ฮ่อมได๋

๙๙. ขอเวินพวกหมู่เจ้ามาบิ่งโลกอันตระการ พวกคนพาลบากันข่องอยู่ ส่วนผู้ฮู้บ่มีข้องเกี่ยวพัน

๑oo. แม่น้ำน้อยถ่อยฮอยวัว บ่มีไผเฮ็ดขัวข้ามได้ ยกเว้นไว้แต่ผู้ฮู้เหตุฮู้ผล

๑o๑. คนเฮานี้มีดีหลายอย่าง ดีด้วยธรรมพระพุทธเจ้าดีแท้แน่นอน

 


วัดธรรมบารมี เมืองดอร์ทมุนด์ ประเทศเยอรมนี