ประวัติความเป็นมา วันขึ้นปีใหม่ หรือ วันที่ ๑ มกราคมของทุกๆปี

แต่เดิมประเทศไทยได้ถือเอา วันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕
ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) จึงให้ถือเอาวันที่ ๑ เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย
นับแต่นั้นมา เพื่อวันปีใหม่จะได้ตรงกันทุกปี ดังนั้นจึงถือเอาเดือนเมษายน เป็นเดือนแรกของปี เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๓
ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม คณะรัฐบาลในสมัย จอมพล ป. (แปลก) พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้ใช้เมื่อ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔
เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลนิยมตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
ซึ่งนิยมใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ทั่วโลก


กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่

๑.  เก็บกวาดทำความสะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

๒. ทำบุญตักบาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว

๓. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน 
      ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

๔. ตรวจสอบตัวเองเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำมาตลอดปี
     ว่ามีความเจริญก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้แค่ไหนหากมีคั่งค้างก็ต้องเร่งขวนขวายปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตน

 


วัดธรรมบารมี เมืองดอร์ทมุนด์