ตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆ

 

พระพุทธจริยาตอนหนึ่งๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงให้ปรากฎในสมัยหนึ่งๆ ซึ่งพอจะประมวลกันเข้า
ในพุทธจริยา ประการได้ดังนี้

พระพุทธจริยาในเวลาที่ทรงบำเพ็ญ เพื่อความตรัสรู้อนุตรสัมมา สัมพุทธโพธิญาณ
นับแต่แรกเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ จนถึงเวลาตรัสรู้และเวลาเสวยวิมุตติสุข อันเป็นเวลา ปี
ซึ่งล้วนแต่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์โดยเฉพาะ เรียกว่า อัตตัตถจริยา ถ้าจะกำหนดด้วย
พระพุทธรูปปางต่างๆ ก็จะได้ถึง ๑๗ ปาง โดยนับแต่ปางที่ คือ ปางอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิต
จนถึงปางที่ ๑๗ คือ ปางรับสัตตุก้อน สัตตุผง

พระพุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พระประยูรญาติ โดยเฉพาะซึ่งก็มีส่วนน้อยเรียกว่า
ญาตัตถจริยา ถ้าจะกำหนดด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆก็จะได้เพียง ปาง คือ ปางแสดงปาฏิหาริย์
ปางโปรดพระพุทธบิดา ปางห้ามพระญาติแย่งน้ำในสมุทร และ ปางโปรดพระพุทธมารดา

พระพุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชนทั่วไปไม่จำกัด ชาติ ชั้น วรรณะ
ตลอดเทพดา พรหม ยักษ์ ที่สุดจนสัตว์เดรัจฉาน ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเพื่อประโยชน์สุข
แก่ชาวโลก รวมทั้งการแสดงธรรม การบัญญัติพระวินัยแก่พระสงฆ์สาวก เพื่อความตั้งมั่น
แห่งพระพุทธศาสนา ในฐานะที่ทรงเป็นพระพุทธเจ้า อันเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ประชากร
เรียกว่า โลกัตถจริยา กำหนดด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งตัดจาก อัตตัตถจริยา ๑๗ ปาง
และ ญาตัตถจริยา ๔ ปาง รวมเป็น ๒๑ ปาง ออกเสีย คงเหลือ ๔๓ ปาง เป็นส่วนโลกัตถจริยา
ทั้งสิ้น รวมพระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งแสดงพระพุทธจริยาของพุทธเจ้าทั้งมวลเป็น ๖๖ ปาง

ก่อนแต่จะทราบตำนานของพระพุทธรูปปางต่างๆ ทั้งหมดนั้น สมควรจะทราบสถาณที่และเวลา
ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จประทับบำเพ็ญพระพุทธจริยาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลดังกล่าวเป็นมูลฐานสำคัญ
แห่งการบังเกิดตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆนี้.

สถานที่และปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา

จำเดิมแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในวันเพ็ญเดือน แล้ว เดือน
ก็เสด็จไปแสดงธรรมจักรโปรดพระปัญจวัคคีย์ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
และทรงจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แสดงอนัตลักขณสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์ภิกษุ
อันเป็นพรรษาแรก ซึ่งจัดอันดับกาลได้ดังนี้.

พรรษาที่ ๑ ปีระกา
เสด็จจำพรรษาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
โปรดพระปัญจวัคคีย์และพระยสกับมิตรสหาย

พรรษาที่ ๒ ปีจอ
พรรษาที่ ๓ ปีกุน
พระษาที่ ๔ ปีชวด

ทรงจำพรรษาที่ พระเวฬุวัน พระนครราชคฤห์
โปรดพระเจ้าพิมพิสารและเสวกามาตย์ราชบริพาร
กับทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ตลอดบริวาร

พรรษาที่ ๕ ปีฉลู
ทรงจำพรรษาที่ กุฏาคารสาลาป่ามหาวันพระนครไพสาลี

พรรษาที่ ๖ ปีขาล
ทรงจำพรรษาที่กูฏบรรพต

พรรษาที่ ๗ ปีเถาะ
ทรงจำพรรษาที่ ปัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ใต้ร่มไม้ปาริชาติในดาวดึงส์สวรรค์
แสดงอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

พรรษาที่ ๘ ปีมะโรง
ทรงจำพรรษาที่ เภสกลาวัน (ป่าไม้สีเสียด) ใกล้เมืองสุงสุมารคีรี ในภัคคชนบท

พรรษาที่ ๙ ปีมะีเส็ง
ทรงจำพรรษาที่์ โฆสิตาราม ในเมืองโกสัมพี

พรรษาที่ ๑o ปีมะเมีย
ทรงจำพรรษาที่ ภัททสาลมูล ในป่าปาลิไลยวัน อาศัยช้างปาลิไลยกะปฏิบัติบำรุง

พรรษาที่ ๑๑ ปีมะแม
ทรงจำพรรษาที่ บ้านนารายพราหมณ์

พรรษาที่ ๑๒ ปีวอก
ทรงจำพรรษาที่ ปุจิมณฑมูล ร่มไม้สะเดา ที่นเรฬุยักษ์สิงอยู่ใกล้เมืองเนรัญชา
พรรษานี้ทรงบัญญัติพระวินัยตั้งสิกขาบทไว้เป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุเป็นประถม

พรรษาที่ ๑๓ ปีระกา (รอบที่สอง)
ทรงจำพรรษาที่ ปาลิยบรรพต

พรรษาที่ ๑๔ ปีจอ
ทรงจำพรรษาท พระเชตวนาราม พระนครสาวัตถีี่

พรรษาที่ ๑๕ ปีกุน
ทรงจำพรรษาที่ นิโครธาราม พระนครกบิลพัศดุ์
โปรดพระพุทธบิดาและพระญาติ ตลอดเสด็จห้ามพระญาติวิวาทกันเพราะเหตุแย่งน้ำในสมุทร

พรรษาที่ ๑๖ ปีชวด
ทรงจำพรรษาที่ อัคคาฬวเจดีญ์วิหาร เมืองอาฬวี
โปรดอาฬวกยักษ์

พรรษาที่ ๑๗ ปีฉลู พรรษาที่ ๑๘ ปีขาล พรรษาที่ ๑๙ ปีเถาะ (รวม ๓ พรรษานี้)
ทรงจำพรรษาที่ พระเวฬุวนาราม พระนครราชคฤห์

พรรษาที่ ๒o ปีมะโรง จนถึงพรรษาที่ ๔๔ รวมเป็น ๒๕ พรรษานี้
ทรงจำพรรษาที่ พระเชตวนารามแลที่บุพพารามสลับกัน
คือที่พระเชตวนาราม ๑๙ พรรษา ที่บุพพาราม ๖ พรรษา

พรรษาที่ ๔๕ ปีมะเส็ง ซึ่งเป็นปีสุดท้าย ปีที่เสด็จปรินิพพาน
ทรงจำพรรษาที่เวฬุวคาม ใกล้เมืองพระนครไพสาลี
ครั้นออกพรรษาแล้ว จึงเสด็จโปรดเวไนยสัตว์ยังนครต่างๆ
จนถึงเมืองกุสินารา ในวันเพ็ญกลางเดือน วิสาขมาส
และเสด็จปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา

ประมาลสถานที่พระบรมศาสดาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับบำเพ็ญพุทธกิจ โปรดเวไนยสัตว์
นับตั้งแต่แรกตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ตามบาลีอาคตสถานด้วยประการฉะนี้

บรรดาสถานที่พระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ในเทศกาล จำพรรษาก็ดี นอกพรรษาก็ดี
ล้วนเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์ ด้วยการแสดงธรรมพุทธเวไนย์เป็นคุณเตือนใจ
พุทธศาสนิกให้สร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ไว้เป็นอนุสรณ์และใส่ใจสักการบูชา เพราะเหตุนั้น
พระพุทธรูปจึงมีปางต่างๆ จะประมาลยกมาแสดงตั้งแต่ต้นจนจบ
โดยเริ่มแต่เสด็จออกทรงผนวชก่อนตรัสรู้ และตรัสรู้แล้ว เสด็จโปรดพุทธเวไนยสัตว์
ตลอดเวลา ๔๕ พรรษา และเสด็จดับขันธปรินิพพาน .

 

นิพนธ์ของ
พระพิมลธรรม
( ชอบ อนุจารีมหาเถร )



วัดธรรมบารมี เมืองดอร์ทมุนด์