ปางที่ ๖๔
ปางทรงพยากรณ์

 

ลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้

อยู่ในพระอิริยาบถนอนตะแคงข้างขวาลืมพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย
พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระกายเบื้องซ้าย พระหัตถ์ขวายกขึ้นประทับที่พระอุทร

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนาน ดังนี้

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จพุทธดำเนินไปนครกุสินาราเสด็จแวะเข้าพักที่่ร่มไม้ริมทาง เสวยอุทกังที่พระ-
อานนทเถระเจ้าน้อมน้อมเข้าถวายระงับความกระหายเป็นสุขดีแล้ว ยังทรงพักผ่อนพระกายอยู่ตามอัธยาศัย

ครั้งนั้น ปุกกุสบุตรแห่งมัลลกษัตริย์ ผู้เป็นสาวกของท่านอาฬารดาบสกาลามโคตร เดินทางจากเมืองกุสินารา
เพื่อจะไปยังปาวานครโดยทางนั้น ครั้นมาถึงที่นั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ร่มไม้ใหญ่ริมทาง จึงเข้า
ไปเฝ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร พระศาสดาได้ทรงพระกรุณาแสดงสันติวิหารธรรมโปรด ปุกกุสะได้สดับ
แล้วเกิดความเลื่อมใสได้น้อมคู่ผ้าสิงคิวรรณอันมีเนื้อละเอียด มีสีทองสิงคี งาม ประณีต มีค่ามาก ถวายพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยกราบทูลว่า "ขอพระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุเคราะห์ รับคู่ผ้าสิงคิวรรณนี้ เพื่อประโยชน์
สุขแด่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด"

พระศาสดาทรงรับสั่งว่า "ปุกกุสะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงคลุมกายตถาคตเพียงผืนเดียว อีกผืนหนึ่ง จงให้อานนท์เถิด"

ปุกกุสะ มัลลบุตร ได้น้อมผ้าเข้าถวายเป็นพุทธบริโภคผืนหนึ่ง ถวายพระอานนทเถระผืนหนึ่ง
ตามพระพุทธบัญชา

พระบรมศาสดา ได้ทรงแสดงธรรมีกถาให้ปุกกุสมัลลบุตรเบิกบานรื่นเริงในกุศลจริยาตามสมควร แล้วปุกกุสะก็
อภิวาททูลลาไป

เมื่อปุกกุสะมัลลบุตรไปแล้ว พระอานนทเถระได้นำผ้าสิงคิวรรณทั้ง ผืนเข้าถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่ง
ผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ผ้าสิงคิวรรณเป็นผ้าประณีต มีสีงาม เหมือนถ่านไฟที่ปราศจากเปลว เมื่อพระเถระนำเข้า
ถวายปกคลุมพระกาย เป็นพุทธบริโภคทั้งคู่ ทันใดนั้นผิวกายของพระผู้มีพระภาค ก็งามบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งนัก

พระอานนทเถระได้กราบทูลสรรเสริญ ความอัศจรรย์ของพระฉวีวรรณงามผ่องใส สมกับคู่ผ้าสิงคิวรรณที่ปก
คลุมพระกายยิ่งนัก

พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งว่า "เป็นความจริงดั่งอานนท์สรรเสริญกายของตถาคตงามบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งใน
เวลา คือ เวลาที่จะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และเวลาที่จะปรินิพพาน อานนท์ เวลานี้แล กาย
ของตถาคตงามบริสุทธิ์ยิ่งนัก อานนท์ในยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แหละ ตถาคตจะปรินิพพาน ณ ระหว่างไม้
สาละทั้งคู่ ณ สาลวันแห่งมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา อานนท์ เรามาไปพร้อมกันยังแม่น้ำกกุธานที"
พระอานนท์รับพระบัญชามาแจ้งให้พระสงฆ์ทราบทั่วกัน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปโดยมรรคานั้น จนถึงแม่น้ำกกุธานทีเสด็จลงเสวยและสนานสำราญพระ-
กายตามอัธยาศัย แล้วเสด็จขึ้นมาประทับยังร่มไม้ รับสั่งให้พระจุนทเถระลาดสังฆาฏิถวาย ด้วยขณะนั้นพระ-
อานนท์กำลังบิดผ้าชุบสรงอยู่ แล้วพระบรมศาสดาก็เสด็จบรรทมระงับความลำบากพระกายที่ตรากตรำมาใน
ระยะทาง

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพักผ่อนพอบรรเทาความเหน็ดเหนื่อยแล้วจึงตรัสแก่พระอานนท์ว่า "อานนท์
ต่อไปภายหน้า หากจะพึงมีใครทำความร้อนใจแก่นายจุนท กัมมารกบุตร ว่า "พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพาน
เพราะบิณฑบาตทานที่ท่านถวายเป็นครั้งสุดท้าย ท่านทั้งหลายพึงช่วยระงับเสียให้สงบ พึงทำความสงบใจให้
แก่นายจุนทะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสรรเสริญว่า อันบิณฑบาตทานที่ถวายพระตถาคตใน ครั้ง คือ
ครั้งที่พระตถาคตเจ้าเสวยแล้ว ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ครั้งที่พระตถาคตเสวยแล้ว เสด็จดับขันธ-
ปรินิพพาน เป็นทานมีผลมาก มีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตทานทั้งหลาย เป็นกุศลกรรม ทำให้เจริญ อายุ
วรรณะ สุข ยศ และสวรรค์ ดังนี้เถิด"

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ได้เสด็จพระพุทธดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี ในเมือง
กุสินารานคร แล้วเสด็จเข้าไปยังสาลวันอุทยานของมัลลกษัตริย์ใกล้เมืองกุสินารานคร โปรดให้พระอานนท์
ปูลาดเตียงที่บรรทม ณ ระหว่างไม้รัง (สาละ) ทั้งคู่ แล้วเสด็จขึ้นบรรทมสีหไสยา มีสติสัมปชัญญะ แต่มิได้มี
อุฏฐานสัญญามนสิการคือไม่คิดว่าจะลุกขึ้นอีกต่อไป เพราะเหตุเป็นไสยาวสาน คือนอนครั้งสุดท้าย
นิยมเรียกว่า อนุฏฐานไสยา (นอนไม่ลุก)

ครั้งนั้น ต้นรังทั้งคู่เผล็ดดอกบานเต็มต้น ร่วงหล่นลงมายังพระพุทธสรีระบูชา พระตถาคตเจ้าเป็นอัศจรรย์
แม้ดอกมณฑาในเมืองสวรรค์ตลอดทิพยสุคนธชาติ ก็ตกลงมาจากอากาศบูชาพระตถาคต ใช่แต่เท่านั้น
ยังเทพยเจ้าทั้งหลาย ก็ประโคมดนตรีทิพย์ บันลือลั่นเป็นมหานฤนาท บูชาพระตถาคตเจ้าในอวสานกาล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับสั่งกะพระอานนท์เถระว่า "อานนท์ การบูชาพระตถาคตด้วยอามิสบูชาแม้มากเห็น
ปานนี้ก็ไม่ชื่อว่า บูชาพระตถาคตเจ้าอันแท้จริง อานนท์ ผู้ใดแล มาปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง
ในธรรม ผู้นั้นชื่อว่า บูชาพระตถาคตเจ้าด้วยการบูชาอย่างยิ่ง" พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระกรุณาเตือนพุทธ-
บริษัทให้หนักแน่นอยู่ในธรรมานุธรรมปฏิบัติ เพื่อทรงประสงค์จะให้พระศาสนาสถิตย์สถาพรดำรงอยู่ในโลก
ตลอดกาลนิรันดรด้วยประการฉะนี้

ขณะนั้น พระอุปวาณะเถระยืนถวายงานพัดอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับสั่งให้พระอุปวาณะ
ถอยออกไปเสีย พระอานนท์เกิดปริวิตกว่า "ความจริงพระอุปวาณะก็เป็นพุทธอุปัฏฐากที่ใกล้ชิดพระบรมศาสดา
มานานแล้ว ไฉนหนอในกาลครั้งสุดท้ายนี้ พระบรมศาสดาจึงไม่ทรงโปรดให้ถวายการปฏิบัติดังเช่นเคย น่าจะ
มีเหตุอะไร จึงได้เข้าเฝ้าทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "อานนท์ ขณะนี้เทพยดาทั้งหมดทุกห้องสวรรค์ชั้นฟ้าได้มาประชุมกันบูชาพระตถาคต"
โดยหวังจะได้เห็นพระตถาคตในครั้งสุดท้าย แต่พระอุปวาณะได้มายืนขวาง ณ เบื้องหน้าเสียเทพดาทั้งหลายพา
กันยกโทษ ด้วยไม่สมประสงค์ที่ตั้งใจมา ดังนั้นตถาคตจึงสั่งให้พระอุปวาณะถอยออกไปเสียจากที่เบื้องหน้านี้"

ครั้งนั้น พระอานนทเถระเจ้าได้กราบทูลว่า "ในกาลก่อน เมื่อออกพรรษา บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายในทิศต่างๆ
ย่อมเดินทางเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เข้าใกล้สนทนาปราศรัย ได้ความเจริญใจ ครั้นผู้มีพระภาคเจ้าปริ-
นิพพานแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจักไม่ได้โอกาสเช่นนี้อีกจะได้แต่ความเศร้าสลดใจในเวลานั้น"

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "อานนท์ สังเวชนียสถาน ตำบลนี้ คือ สถานที่พระตถาคตเจ้าประสูติจากพระครรภ์
สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สถานที่พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักร และ
สถานที่พระตถาคตเจ้าปรินิพพาน สถานที่ทั้ง ตำบลนี้ ควรที่พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ผู้มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า จะดู จะเห็น และควรจะให้ความสังเวชทั่วกัน อานนท์ ชนทั้งหลาย
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้เที่ยวไปยังเจดีย์สังเวชนียสถานเหล่านี้ ด้วยความเลื่อมใส ชนเหล่านั้น ครั้นทำกาลกิริยาลง
จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"

ลำดับนั้น พระอานนท์เถระเจ้า ได้กราบทูลถามถึงเรื่องวิธีปฏิบัติในพระพุทธสรีระว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติในพระพุทธสรีระเป็นไฉน"

ดูกรอานนท์ท่านทั้งหลายอย่าได้ขวนขวายเลยจงตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรเพื่อที่สุดแห่งพรหมจรรย์โดยชอบเถิด
บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ และคฤหบดี ทั้งหลายที่เลื่อมใสเคารพนับถือในพระตถาคตมีอยู่มาก เขาเหล่านั้น
จักทำสักการะบูชาสรีระแห่งพระตถาคตเอง

ก็กษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น จะพึงปฏิบัติในสรีระโดยวิธีใดเล่า พระเจ้าข้า

"อานนท์ ผู้รู้ทั้งหลายย่อมปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคตเจ้าเป็นแบบเดียวกันกับวิธีปฏิบัติในพระสรีระแห่ง
พระเจ้าจักรพรรดิราช นั้นแล"

"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็มีวิธีปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิราชนั้น มีแบบเป็นไฉนเล่า พระเจ้าข้า"

ดูกรอานนท์ ชนทั้งหลายย่อมพันพระสรีระแห่งพระเจ้าจักรพรรดิราชด้วยผ้าขาวซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าขาว
๕oo คู่ แล้วเชิญพระสรีระลงในหีบทองอันเต็มไปด้วยน้ำมันหอม เชิญขึ้นบนจิตรกาธารซึ่งทำด้วยไม้จันทร์หอม
ถวายพระเพลิง แล้วเชิญพระอัฐิะาตุไปทำพระสถูปบรรจุไว้ ณ ที่ประชุมแห่งถนนใหญ่ทั้ง ทิศ เพื่อเป็นที่ไหว้
สักการบูชาของมหาชนผู้สัญจรไปมาแต่ทิศทั้ง เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน

"อานนท์ บุคคลผู้ควรแก่การประดิษฐานในสภูป เรียกว่าถูปารหบุคคล มี ประเภท คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกอรหันต์ พระเจ้าจักรพรรดิ บุคคลพิเศษทั้ง นี้ ควรแก่การบรรจุอัฐิธาตุ
ไว้ในสถูป เพื่อเป็นที่สักการบูชากราบไหว้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ตามกำลังศรัทธาเลื่อมใส"

ครั้งนั้น พระอานนท์เถระเจ้าเข้าไปในวิหาร ยืนเหนี่ยวกลอนประตูวิหารร้องไห้คิดสังเวชตัวเองว่า "อาภัพมาก
อุตส่าห์ติดตามปฏิบัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดุจเงาติดตามพระองค์ โดยมุ่งยึดเอาพระองค์เป็นนาถะ เพื่อ
ทำความสิ้นทุกข์ บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นก็จะเสร็จปรินิพพานในราตรีนี้แล้ว ทั้งๆที่เราก็ยังเป็น
เสขบุคคลอยู่"

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทอดพระเนตรเห็นพระอานนท์อยู่ในที่นั้น ก็รับสั่งถามพระภิกษุทั้งหลาย ครั้นทรง
ทราบความแล้ว ตรัสให้ไปตามพระอานนท์เข้ามายังที่เฝ้า แล้วรับสั่งด้วยพระมหากรุณาว่า "อานนท์อย่าเลยเธอ
อย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไรเลย เราได้บอกแก่เธอแล้วมิใช่หรือว่า "สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงถาวร จะหาความเที่ยงแท้
จากสังขารได้ที่ใหน
อานนท์ ทุกสิ่งที่มีเกิดในเบื้องต้นแล้ว จะต้องแปรปรวนในท่ามกลาง และในที่สุดก็ต้องสลาย
ลงเช่นเดียวกันหมด" ต่อนั้นได้ทรงพระมหากรุณาตรัสพยากรณืประทานแก่ พระอานนท์เถระ "อานนท์ เธอเป็น
บุคคลที่มีบุญได้สั่งสมไว้มากแล้ว เธอจงอุตส่าห์บำเพ็ญเพียรเถิด ไม่ช้าเธอจักได้ถึงความสิ้นอาสวะ คือจักได้เป็น
พระอรหันต์ ก่อนวันพระสงฆ์ทำปฐมสังคายนานั้นแล"

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงอตีตังสญาณอันวิเศษ ได้ทรงพยากรณ์พระอานนท์ในที่ประชุมสงฆ์เช่นนั้นแล้ว
ก็ตรัสสรรเสริญคุณสมบัติพิเศษของพระอานนท์ว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่เสด็จ
ดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็ดี แม้ที่จะมาตรัสรู้ข้างหน้าอีกก็ดี บรรดาภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งหลายเหล่านั้นก็ทรงคุณสมบัติเหมือนอานนท์ อุปัฏฐากของเราในบัดนี้แหละ

ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต ประกอบธุรกิจด้วยปัญญารอบรู้ว่ากาลใด บริษัทใดจะเข้าเฝ้า อานนท์ก็จัดให้
เข้าเฝ้า ตามควรแก่สถานะวิสัยแห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา กษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี และเดียรถีย์
ได้ถี่ถ้วนทุกประการ

อนึ่ง เมื่อบริษัทได้เข้าใกล้ ได้เห็นอานนท์ก็มีจิตยินดี เมื่ออานนท์แสดงธรรม ก็ชื่นชม ไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ด้วยธรรมกถา
ของอานนท์เลย เมื่ออานนท์หยุดพักธรรมกถา บริษัทก็ยินดีเบิกบานในธรรมกถาที่แสดงแล้ว ประหนึ่ง พระเจ้าจักร-
พรรดิประทานความชื่นชมด้วยภาษิตแก่กษัตริย์ พราหมณ์ เป็นต้นฉะนั้น ."

 

จบตำนานพระพุทธรูป ปางทรงพยากรณ์ แต่เพียงนี้ .