ปางที่ ๕๘
ปางพิจารณาชราธรรม

 

ลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้

อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองวางอยู่ที่พระชานุทั้งสอง

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนาน ดังนี้

จำเดิมแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้แล้ว แสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตรอันเป็นปฐมเทศนา โปรดพระปัญจ-
วัคคีย์ภิกขุทั้ง ให้พระโกณฑัญญะบรรลุอริยมรรคอริยผล เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนาแล้ว
ต่อนั้นก็แสดงธรรมประกาศพระธรรมเทศนาให้แพร่หลาย ประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่งคั่ง ทำพุทธบิษัท
คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุสิสก อุบาสิกา ให้ดำรงอยู่ในอริยธรรม แสดงธรรมให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชุมชนเป็น
อันมาก เสด็จพระพุทธดำเนินไปสั่งสอนเวไนยนิกร ในคามนิคมชนบทราชธานีต่างๆ มีนครราชคฤห์ในมคธรัฐ
เป็นต้น ประดิษฐานสังฆมณฑลให้เจริญรุ่งเรืองเป็นหลักฐานประมาณได้ ๔๔ พรรษา

ในพรรษาที่ ๔๕ อันเป็นพรรษาที่สุดท้ายแห่งพระชนมายุ ได้เสด็จจำพรรษา ณ บ้านเวฬุวคาม ในเขตเมือง
ไพศาลี ครั้นภายในพรรษากาลพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประชวรหนัก เกิดทุกขเวทนาใกล้มรณชนม์พินาศแต่
พระองค์ทรงดำรงพระสติสัมปชัญญะมั่นคง ทุกขเวทนาที่กล้าแข็งนั้นไม่เบียดเบียนให้อาดูรเดือดร้อนระส่ำ
ระส่ายได้ทรงอดกลั้นเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาด้วยอธิวาสนะขันติคุณ ทรงเห็นว่ายังมิควรที่จะปรินิพพานก่อน
จึงทรงประณามขับไล่ บำบัดอาพาธพยาธิทุกข์นั้นให้สงบระงับไป ด้วยความเพียรในอิทธิบาทภาวนา ครั้น
ดำรงพระกายเป็นปกติจากชราพาธปราศจากพยาธิทุกข์ มีความสุขตามควรแก่วิสัยแล้ว วันหนึ่งเสด็จนั่ง
เหนือพระพุทธอาสน์ซึ่งปูลาดอยู่ในร่มเงาพระวิหาร พระอานนทเถระเจ้าไปเฝ้าถวายนมัสการยังที่ใกล้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราศัย เรื่องชราธรรมประจำพระกายกะพระอานนทเถระว่า ดูกรอานนท์
บัดนี้เราแก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยเสียแล้ว ชนมายุกาลของเราถึง ๘o ปีเข้านี้แล้ว กายของตถาคต
ทรุดโทรมเสมือนเกวียนชำรุดที่ต้องซ่อมมัดกระหนาบให้อยู่ด้วยไม้ไผ่ อันมิใช่สัมภาระเกวียนฉะนั้น

ดูกรอานนท์ เมื่อใดพระตถาคตเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิ ตั้งจิตสงบมั่นไม่มีนิมิตใดๆ เพราะไม่ทำนิมิตทั้งหลาย
ไว้ในใจ ดับเวทนาบางเหล่าเสียและหยุดยั้งอยู่ด้วยอนิมิตตสมาธิ เมื่อนั้นกายแห่งตถาคตย่อมผ่องใส มีความ
ผาสุกสบาย

ดูกรอานนท์ เพราะธรรมคืออนิมิตตสมาธิ มีอานุภาพสามารถทำให้ร่างกายของผู้ที่เข้าถึง และหยุดอยู่ด้วย
สมาธิธรรมนั้นมีความผาสุก ฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะเป็นที่พึ่ง มิใช่บุคคลมีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ
จงมีธรรมเป็นเกาะ เป็นที่พึ่งทุกอิริยาบถเถิด ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ได้ทรงแสดงธรรมในข้อว่ามีตนเป็นที่พึ่ง ด้วย
สามารถประกอบตนไว้ในสติปัฏฐาน ทรงสั่งสอนภิกษุสงฆ์ในเอกายนะมรรค คือสติปัฏฐานภาวนา และ
ปกิณณกะเทศนาธรรม สมควรแก่อุปนิสัยเสด็จสำราญพระกายบำเพ็ญพุทธกิจ ณ บ้านเวฬุคามนั้นจนกาล
ล่วงไปถึงเดือนที่ แห่งเหมันตฤดู .

 

จบตำนานพระพุทธรูป ปางพิจารณาชราธรรม แต่เพียงนี้ .