ปางที่ ๕๗
ปางปลงกรรมฐาน

 

ลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้

อยู่ในอิริยาบถยืน มี แบบ คือ แบบหนึ่งห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงทาบที่พระเพลา ยื่นพระหัตถ์ขวาออกไป
ข้างหน้าเป็นกิริยาซักผ้า อีกแบบหนึ่ง พระหัตถ์ซ้ายทรงธารพระกร ส่วนพระหัตถ์ขาวอยู่ในอาการเช่นเดียวกัน
นิยมเรียกว่า ปางชักผ้ามหาบังสุกุล

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนาน ดังนี้

พระพุทธรูปปางปลงกรรมฐานนี้นิยมเรียกว่า "ปางชักผ้ามหาบังสุกุล" พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในอริยบถยืน
ทอดพระเนตรลงในเบื้องต่ำ เป็นกิริยาพิจารณาดูอสุภในตำนานพุทธเจดีย์สยามกล่าวว่า ทรงพระอริยบถยืน
พระหัตถ์ซ้ายห้อยลงทาบอยู่ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวายื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาชักผ้าบังสุกุล คล้าย
กับอาการของพระสงฆ์ที่ยืนชักผ้าบังสุกุลในปัจจุบันนี้ ส่วนลักษณะพระพุทธรูปปางปลงกรรมฐานในหอราชกร-
มานุสรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น พระหัตถ์ซ้ายทรงธารพระกร ส่วนพระหัตถ์ขวานั้นมีอาการเช่นกัน

สำหรับธารพระกร คือไม้เท้านั้น เป็นบริขารสำคัญของพระอยู่ป่าช้าที่ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัดจริงๆ เพราะเป็นเครื่อง
มือช่วยให้ความสะดวกในการชักผ้าบังสุกุลมาก เพื่อความรู้ความเข้าใจของผู้ที่ใคร่ต่อการศึกษาสมควรจะอธิ-
บายเรื่องนี้ให้พิศดารสักหน่อย

คำว่าผ้าบังสุกุลในที่นี้ หมายความว่าพันศพ ในสมัยก่อนใช้ผ้าขาวผืนยาวพันศพเริ่มแต่ศีรษะมาถึงปลายเท้า
แล้วก็นำศพไปทิ้งไว้ที่สุสานคือ ป่าช้าผีดิบ เพื่อให้โอกาสแก่สัปเหร่อเผาในเวลาต่อไป เจ้าของศพจะไม่อาลัย
ศพ จะไม่หวงศพ ปล่อยให้สัปเหร่อทำตามพอใจ เพียงแต่เอาผ้าห่อพันศพมิให้น่าเกลียด ในเวลาที่เอาไปทอด
ทิ้งไว้ในป่าช้าเท่านั้น ดังนั้น ในอามกสุสานที่แปลว่า ป่าช้าผีดิบเช่นนั้นจึงมีร่างของคนตายที่เรียกว่าศพต่างๆ
กัน โดยกาลสั้นและยาวคือ เพิ่งตายที่นิยมเรียกว่าศพสดบ้าง ตาย ๒-๓ วันบ้าง ชนิดขึ้นพองบ้าง ชนิดมีหนอน
ไต่ยั้วเยี้ยบ้าง ชนิดที่สัตว์กัดกินบ้าง ชนิดโทรมแล้วบ้าง ชนิดเหลือแต่กระดูกบ้าง เรียกตามภาษากรรมฐานว่า
ป่าช้าเก้าด้วยกำหนดไว้ ประการ

เมื่อเจ้าของนำศพไปป่าช้า ถ้าต้องการเผาก็จัดการเผาเองบ้าง มอบน้ำมัน , ฟืนและค่าจ้างให้สัปเหร่อเผาให้
บ้าง แต่ก็มีเจ้าของศพอีกไม่น้อยเหมือนกันที่ต้องการเผาดังกล่าว ใช้ผ้าขาวห่อแล้วทอดทิ้งไว้ในป่าช้า ปล่อย
ให้ทรุดโทรมไปตามสภาวะ โดยไม่สนใจแต่ประการใด ใครจะไปทำมิดีมิร้ายด้วยประการใดๆแก่ศพก็ตามใจเถิด
แปลว่าทิ้งกันจริงๆ

ในข้อนี้อาจมีผู้สงสัยว่า ศพที่นำไปป่าช้านั้น ไม่มีหีบ ไม่มีโลงใส่กันดอกหรือ ? และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแล้ว จะ
ไม่เป็นการทุเรศแก่ศพนักหรือ ? ความจริง การนำศพไปป่าช้าในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเอาไปทิ้งก็ตาม จะเอาไปเผา
หรือฝังก็ตาม จะไม่มีหีบ ไม่มีโลงใส่เลย เขาเอาผ้าพันศพแล้ว ก็ยกขึ้นบนแคร่หามไปป่าช้าเท่านั้น ที่กริ่งเกรง
ไปว่าจะเป็นการทุเรศแก่ศพนั้น ขอชี้แจงว่า จะไม่เป็นการทุเรศ หรือน่าเกลียดแก่คนในสมัยนั้นแต่ประการใดเลย
เพราะเมื่อเป็นประเพณีคือนิยมทำกันเช่นนั้นแล้วอย่างไรจะเป็นที่น่าเกลียดเล่า !

ไม่ต้องดูอื่นไกลออกไปหรอก แม้แต่พระพุทธสรีระ หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วถึง ๗ วัน
ในเวลาที่อันเชิญไปจากสาลวโนทยาน ทั้งๆ ที่จัดเป็นงานพระราชพิธีใหญ่หลวง มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้า
ภาพ และก็พร้อมด้วยกษัตริย์ขัตติยวงศ์ ตลอดเสนามาตย์ราชบริพาร ทั้งเศรษฐีคหบดี กับทั้งพระอรหันต์สาวก
ทั้งหมดเดินตามพระบรมศพเข้าสู่พระนครกุสินาราราชธานี ไปตามถนนใหญ่ๆ แล้วจึงอันเชิญพระบรมศพออก
จากพระนครไปยังมกุฏภัณฑเจดีย์ ก็ปรากฏว่ามิได้ใส่หีบโดยอันเชิญพระบรมศพไปด้วยเตียงเล็กๆเท่านั้น ก็ไม่
เห็นจะเป็นที่น่าตำหนิว่าไม่งามที่ตรงใหน กับเป็นเรื่องที่พออกพอใจของคนทุกชั้นทั่วกัน เพราะทุกคนพร้อมกัน
ทำสักการบูชาด้วยบุบผามาลัยเป็นเอนกประการ ต่อเมื่อถึงมกุฏภัณฑเจดีย์ที่ถวายพระเพลิงแล้ว จึงได้อัญเชิญ
พระบรมศพลงหีบเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมันหอมแล้วยกขึ้นบนจิตกาธารที่ล้วนด้วยไม้จันทร์ แล้วถวายพระเพลิง

ความจริงพระพุทธเจ้าก็เสด็จปรินิพพานมาได้ถึง วันแล้ว น่าจะมีหีบใส่ แต่ก็ปรากฎว่ามิได้จัดทำหีบใส่กัน
ดังนั้น จึงเชื่อถือได้แน่ว่า ทุกอย่างเมื่อนิยมทำกันเป็นประเพณีเสียแล้ว ก็แลดูงามไปหมด ทราบว่า แม้ในเวลา
นี้ก็ยังมีคนบางหมู่บางประเทศยังนิยมนำศพไปเผาโดยไม่ใส่หีบอยู่อีกไม่น้อยเหมือนกัน

ครั้นเมื่อมามีประเพณีใส่หีบกันขึ้น จนถึงตกแต่งหีบกันงดงามอย่างบ้านเมืองเราที่เห็นกันอยู่ในบัดนี้ หากใคร
ไปทำต่างจากนี้ออกไป คือเอาศพไปป่าช้าโดยไม่มีหีบก็คงจะถูกตำหนิกันมากว่าทำทุเรศแก่ศพ เป็นผีไม่มี
ญาติ ดังนั้น ขนบธรรมเนียมทุกอย่าง ในสมัยหนึ่งๆ ก็ย่อมจะเป็นที่นิยมของคนในสมัยนั้นๆเป็นแน่ อย่างศพที่
เอาผ้าพันแล้ว นำไปทอดทิ้งในป่าช้า ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่เป็นข้อที่จะยกขึ้นตำหนิแต่ประการใด ด้วยเป็น
เรื่องของความนิยมของคนในหมู่นั้น ในสมัยนั้น ใครจะไปทำมิดีมิร้ายด้วยประการใดแก่ศพก็ตามใจเถิด
แปลว่าทิ้งกันจริงๆ

ศพประเภทหลังนี้ ถ้าภิกษุจำพวกที่อยู่ในป่าช้าใช้ผ้าบังสุกุลคือผ้าห่อศพดังกล่าวเป็นจีวร เมื่อต้องการผ้าทำ
จีวร ก็ไปชักเอาผ้าบังสุกุลคือผ้าที่ห่อศพพันศพอยู่ ทั้งๆ ที่ศพขึ้นพองอยู่อย่างนั้นมาทำจีวร การไปชักผ้าบัง-
สุกุลอย่างนั้นลำบาก ต้องมีไม้เท้าช่วย ไม้เท้าตามราชาศัพท์เรียกว่า "ธารพระกร" ไม้เท้านี้ควรจะเรียกว่าไม้ค้ำ
ศพ หรือไม้ยันศพจะถูกกว่า โดยเรียกตามอาการของความเป็นจริง ด้วยไม้เท้านั้น ที่ปลายไม้จะต้องทำเป็นไม้
ง่าม ด้วยขณะที่ชักผ้าออกจากร่างศพมา ศพจะกลิ้งมาตามผ้า ดังนั้นขณะที่พระชักผ้าจึงต้องใช้ไม้เท้านั้นค้ำ
ศพ ยันศพให้กลิ้งออกไป เพื่อให้ได้ผ้ามาโดยสะดวก โดยนัยนี้จะเห็นได้ชัดว่า ไม้เ้ท้านั้นเป็นเครื่องอุปกรณ์ให้
ความสะดวกในการชักผ้าบังสุกุลจริงๆ ไม่อย่างนั้นก็จะต้องใช้มือทั้งสองปอกเปลือกศพกันอย่างทุลักทุเล
ดังสัปเหร่อลอกคราบศพ

อาศัยเหตุนี้พระพุทธรูปปางปลงกรรมฐาน หรือที่นิยมเรียกว่า ปางชักผ้าบังสุกุลนี้ จึงทรงไม้ธารพระกร คือ
ไม้เท้าสำหรับค้ำศพ , ยันศพ เพื่อช่วยความสะดวกในเวลาชักผ้าดังกล่าว

การชักผ้าบังสุกุลแบบนี้ คงมีแต่สมัยโน้น มาบัดนี้ไม่มีแล้ว ถึงทั่วๆไปก็เห็นมีแต่ชักผ้าที่วางอยู่บนภูษาโยง
หรือบนหีบศพเท่านั้น จนเป็นประเพณี

ความจริงประเพณีโบราณนั้นผ้าบังสุกุลอยู่ใกล้กับศพมากกว่านี้ เพียงแต่เอาผ้าสะอาดๆผืนอื่นวางรองผ้าจีวร
ที่ทอดไว้ให้พระชักเท่านั้น พระที่ไปชักผ้ามองเห็นร่างศพได้ชัด พูดสั้นๆก็ว่าทอดผ้าที่ศพ ไม่ใช่ทอดที่หีบ ลาง
แห่งตามชนบทใช้หักใบไม้รองกันมิให้ผ้าทอดถูกศพ นับว่าใกล้ศพมาก

แม้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพเจ้านายบนพระเมรุที่ท้องสนามหลวง ก็มีประเพณีนิยมทำดังกล่าว โดย
ทรงทอดผ้าบนพระภูษาโยงไกลจากพระโกศมาก ข้าพเจ้าได้ไปงานถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ-
พระมุงกุฏเกล้าฯ รัชกาลที่ ที่พระเมรุมาศที่ท้องสนามหลวง เวลาถวายพระเพลิงจริงๆ ดึงมากถึง ๒๓ น. พระ-
บาทสมเด็จพระปกเกล้าฯรัชกาลที่ ประทับเป็นประธานในฐานะเป็นพระญาติผู้ใหญ่ที่สนิท แต่งพระองค์ขาว
ล้วน ไม่มีเครื่องราชอิศริยาภรณ์ประดับแต่ประการใด ครั้นได้เวลาถวายพระเพลิง ก็เสด็จขึ้นบนพระเมรุมาศทรง
ทอดผ้าไตรบนพระจิตกาธาร โดยทรงวางผ้าไตรพิงเข้ากับพระโกศ ไม่ใช่ทอดบนพระภูษาโยง ครั้นพระสงฆ์ชัก
ผ้าไตรไปแล้วก็ทรงถวายพระเพลิงแล้วเสด็จไปประทับบนพลับพลารอเวลาทอดผ้าไตรอีกต่อไป

ครั้นเพลิงลุกเผาพระบรมศพใกล้เวลาจะมอดลง เจ้าพนักงานยกเอาพระโกศรองในซึ่งเป็นเงิน ออกจากพระจิต-
กาธารแล้ว แม้เพลิงก็ยังไม่ดับยังคงลุกเผาพระอัฐิอยู่ เจ้าพนักงานก็เอาคีมเหล็กคู่ มีด้ามยาวแทงลงที่ตรงกอง
พระอัฐิ ซึ่งไฟกำลังลุกโชนอยู่บนจิตกาธารนั้น แล้วไปทูลอัเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ให้เสด็จขึ้นไป
ทอดผ้าที่ด้ามคีบเหล็กที่ยื่นออกมาจากจิตกาธารนั้นอีกครั้ง เพื่อให้พระสงฆ์ชักผ้าต่อไป

พระราชกรณียะที่ทรงกระทำนั้น แสดงชัดว่าทรงทอดผ้าใกล้พระบรมศพมาก นิยมเป็นพระราชประเพณี แต่
สำหรับประชาชนทั่วไปไม่เคยว่าได้ทำกันที่ใหน แต่ในเวลานี้พระราชประเพณีเรื่องนี้ ก็เข้าใจว่าคงจะได้แก้ไข
เปลี่ยนแปลงไปแล้วตามกาลนิยม อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ทั้งนั้นแสดงว่าการทอดผ้าที่ศพนั้นนิยมให้ใกล้ชิดศพให้
มากที่สุด เพื่อให้พระสงฆ์เข้าใกล้ศพ พิจารณาศพในเวลาชักผ้าบังสุกุล ถือเป็นบุญกุศลสำเร็จแก่ผู้วายชนม์
แล้วเป็นอย่างดี

ความจริง แม้เจ้าภาพจะพยายามให้พระเข้าใกล้ศพชักผ้าบังสุกุลเพียงใดก็ตาม แต่พระก็ยังไม่จำต้องใช้ไม้เท้า
ยันศพในเวลาชักผ้าอยู่นั่นเอง เพราะผ้าบังสุกุลมิได้พันร่างศพดังกล่าวแล้ว เมื่อศพไม่ใช้ผ้าพัน การใช้ไม้เท้า
ยันศพ ค้ำศพก็ไม่มี ครั้นเปลี่ยนผ้าบังสุกุลจากพันศพมาวางบนภูษาโยงหรือบนหีบศพแล้ว ก็เลยเปลี่ยนไม้เท้า
มาเป็นตาลปัตร หรือพัด ให้พระถือเข้าไปชักผ้าบังสุกุล เมื่อเลิกใช้ไม้เท้ายันศพแล้ว ไม้เท้ายันศพก็เลยสาปสูญ
ไป จนเกือบกล่าวได้ว่า ไม่มี ไม่เคยเห็นกันที่ใหน เป็นคราวโชคดีของข้าพเจ้ามากที่ได้โอกาสไปเห็นไม้เท้ายัน
ศพของท่านเจ้าคุณพระธรรมวโรดม วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ซึ่งท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า :-

ไม้เท้านี้เป็นของเก่า ท่านเก็บไว้สำหรับเป็นตัวอย่าง เกรงว่าจะสาปสูญและจะเลยไม่รู้จักกัน ข้าพเจ้าต้องกราบ
ขอบพระคุณท่าน ที่มีจิตกุศลอันควรสรรเสริญ ขอยุติเรื่องผ้าบังสุกุลไว้แต่เพียงนี้เพื่อจะได้บรรยายเรื่องพระ-
พุทธรูปปางปลงกรรมฐานหรือปางชักผ้ามหาบังสุกุลต่อไป

มีตำนานดังนี้

สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับพักอยู่ในสำนักท่านอุรุเวลกัสสปะ หัวหน้าชฎิล ๕oo เพื่อทรงทรมาน
ชฎิลเหล่านั้น ครั้งนั้นนางปุณณทาสี หญิงคนใช้ในเรือนของท่านราชคฤห์เศรษฐี ในนครราชคฤห์ตายลง ท่าน
เศรษฐีผู้เป็นนายได้กรุณาให้คนใช้เอาผ้าขาวเนื้อดีพันศพแล้วให้ยกไปทอดทิ้งไว้ในป่าช้าตามที่นิยมทำกันเวลา
นั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ทั้งมีพระประสงค์จะได้ผ้าขาวที่พันศพนางปุณณทาสีมาเป็นผ้าสังฆาฏิ
จึงเสด็จไปที่ป่าช้านั้น

เวลานั้นศพนางปุณณทาสีได้ขึ้นพองแล้ว มีน้ำเหลืองน้ำหนองไหล หนอนขึ้นไต่ตอมบ่อนอยู่เต็ม พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพิจารณาศพนางปุณณทาสีโดยปฏิกูลสัญญาแล้วก็เสด็จเข้าไปทรงชักผ้าที่พันศพนางปุณณทาสี
นั้นมา เมื่อได้ทรงสลัดผ้าให้หนอนทั้งหลายประมาณหนึ่งทะนานหล่นจากผ้าไปอยู่ที่ศพหมดแล้ว ก็ทรงถือผ้า
มหาบังสุกุลผืนนั้นไป ยังที่ประทับเพื่อหาน้ำซักผ้าต่อไป

อาศัยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ ไม่น่าจะทรงทำเช่นนั้น และเมื่อทรงทำได้ถึงเช่นนั้น
จึงเป็นพระคุณที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง ถึงกับทำแผ่นปฐมพีหวั่นไหวในขณะนั้นถึง ๓ ครั้ง

ครั้งนั้นท้าวสักกะเทวราช ทรงทราบพระพุทธประสงค์ จึงได้เสด็จลงมาจากดาวดึงส์พิภพ ทรงขุดสระโบกขรณี
บันดาลให้มีน้ำใสสะอาดเต็มเปี่ยมด้วยเทวฤทธิ์ และทรงยกแผ่นศิลาใหญ่สำหรับเป็นที่ขยำขยี้ในเวลาซักผ้ามา
ถวายให้พร้อม

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงซักผ้ามหาบังสุกุลนั้นให้สะอาดปราศจากกลิ่นไออสุภแล้ว ทรงพระประสงค์จะทรง
ตากผ้า เทพยดาที่สิงสถิตอยู่ที่ใกล้สะโบกขรณีนั้นทราบพระพุทธประสงค์ก็โน้มกิ่งกุ่มให้ทอดลงมาเป็นราวตาก
ผ้าถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ้าบังสุกุลนั้นแห้งดีแล้ว ทรงพระประสงค์จะทรงพับผ้า ท้าวสักกะเทวราชาก็
ทรงยกแผ่นศิลามาถวายสำหรับเป็นที่พับผ้าด้วยเทวฤทธิ์ ต่อนั้นสมเด็จพระธรรมสามิต ก็ทรงพับผ้าที่แผ่นศิลา
นั่นให้เรียบร้อยสมพระพุทธประสงค์ ต่อมาพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงทำผ้าบังสุกุลผืนนั้นให้เป็นผ้าสังฆาฏิ
สำหรับใช้เป็นบริขารส่วนพระองค์เป็นประจำมาเป็นเวลานาน

ภายหลังพระผู้มีพระภาคทรงเห็นพระมหากัสสปเถระ ซึ่งเป็นพระเถระมีอายุเจริญมากกว่าพระองค์ ให้ผ้าสังฆาฏิ
เนื้อหยาบหนักมาก จึงทรงพระมหากรุณาประทานผ้าสังฆาฏิผืนนั้นแก่พระมหากัสสปะ โดยรับสั่งว่า กัสสปะ !
ผ้าสังฆาฏิที่เธอใช้อยู่นั้น เนื้อหยาบ , หนา , หนักมาก เปลี่ยนเอาผ้าสังฆาฏิของตถาคตไว้ใช้เถิด พระมหา -
กัสสปะก็ทรงรับผ้าสังฆาฏิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทาน มาเปลี่ยนสังฆาฏิของท่านไว้ใช้เป็นประจำดังพระ-
พุทธประสงค์

พระมหากรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงประทานผ้าสังฆาฏิอันมีค่ายิ่งแก่พระมหากัสสปะครั้งนี้ ได้เป็นพระ-
คุณสูง ประทับอยู่ในความทรงจำของพระมหากัสสปะเป็นอย่างยิ่ง แม้ในบรรดาพระสงฆ์สาวกทั้งหลายก็พากัน
ซาบซึ้งในพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ , ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ทรงมีในพระมหากัสสปะเป็นพิเศษ

ดังนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระเจ้าได้เป็นประธานพระสงฆ์
ทั้งหลายกระทำปฐมสังคายนา ก็ปรากฎว่า ท่านรำพึงรำพันถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้มีพระภาคที่ทรง
ประทานสังฆาฏิผืนพิเศษอันเป็นบริขารส่วนพระองค์นั้น ให้ใช้ร่วมอยู่ตลอดกาลว่า ควรแท้ที่จะกระทำสังคาย-
นาร้อยกรองพระธรรมวินัย ให้เป็นแบบฉบับเหมือนนายช่างร้อยกรองดอกไม้ให้เป็นมาลัย น้อมถวายเป็นพุทธ
บูชา สนองพระกรุณาธิคุณเถิด และในที่สุดพระมหากัสสปะก็ได้เป็นประธาน จัดทำงานปฐมสังคายนาพระธรรม
วินัยสำเร็จลงเรียบร้อยด้วยกตัญญูกตเวทิตาธรรมสมมโนรถ เป็นเยี่ยงอย่างของพระสงฆ์ศากยบุตรพุทธชิโนรส
ผู้ประกาศสันติวรบทสืบต่อมาจนบัดนี้ .

 

จบตำนานพระพุทธรูป ปางปลงกรรมฐาน แต่เพียงนี้ .