ปางที่ ๔๕
ปางปฐมบัญญัติ

 

ลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ ยกฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองตะแคงยื่นตรงออกไปข้างหน้า เป็นกิริยาบัญญัติพระวินัยเพื่อรักษาพระศาสนาให้ดำรงอยู่นาน

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนาน ดังนี้

ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต ใกล้เมืองเวรัญชา พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕oo รูป ครั้งนั้นเวรัญชพราหมณ์ ผู้ครองเมืองเวรัญชาได้ทราบกิตติศัพท์ของ
พระพุทธเจ้าฟุ้งขจรไปว่า พระองค์เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าบริบูรณ์
ทรงแสดงธรรมไพเราะนัก ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ทรงคุณสมบัติ
เห็นปานนั้น เป็นความดี .

ดังนั้น เวรัญชพรหมณ์จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับครั้นผ่านการปราศรัยพอสมควรแล้ว ได้ทูล
ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้ยินว่า พระองค์ไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ
ข้อนั้นไม่สมควรเลย

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ในโลกนี้หรือในโลกอื่นเรายังไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ
หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะเพราะตถาคตพึงไหว้พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ศีรษะของบุคคลนั้น
ก็จะพึงขาดตกไป

ท่านพระโคดม เป็นคนไม่มีรส พราหมณ์กล่าวตู่
จริง พราหมณ์ ! พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ เพราะรสในกามคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เราละได้แล้ว
ตัดรากขาดเสียแล้ว แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านกล่าวหมาย

ท่านพระโคดม เป็นคนไม่มีโภคะ
จริง พราหมณ์ ! เพราะโภคะ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เราละได้แล้ว แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านกล่าวหมาย

ท่านพระโคดม เป็นคนกล่าวการไม่ทำ
จริง พราหมณ์ ! เพราะเรากล่าวการไม่ทำบาป การไม่ทำชั่วด้วย กาย วาจา ใจ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านกล่าวหมาย

ท่านพระโคดม เป็นคนกล่าวความการขาดสูญ
จริง พราหมณ์ ! เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งบาปอกุศล
ทั้งมวล แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านกล่าวหมาย

ท่านพระโคดม เป็นคนช่างเกลียด
จริง พราหมณ์ ! เพราะเราเกลียด กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เราเกลียดบาปอกุศลทั้งมวล
แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านกล่าวหมาย

ท่านพระโคดม เป็นคนกำจัด
จริง พราหมณ์ ! เพราะเราแสดงธรรมเพื่อความกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ กำจัดบาปอกุศลทั้งมวล แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านกล่าวหมาย

ท่านพระโคดม เป็นคนเผาผลาญ
จริง พราหมณ์ ! เพราะเรากล่าวบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ
แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านกล่าวหมาย

ท่านพระโคดม เป็นคนไม่ผุดเกิด
จริง พราหมณ์ ! เพราะการนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ ผู้ใดละได้ตัดขาด ทำไม่ให้มีอีกต่อไป เรากล่าวว่า
ผู้นั้น เป็นคนไม่ผุดเกิดอีก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านกล่าวหมาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ เปรียบเหมือนไข่ไก่หลายฟองที่แม่ไก่ฟักดีแล้วลูกไก่ตัวใดทำลายกะเปาะ
ฟอกด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรจะเรียกว่าพี่หรือ
ว่าน้อง ของลูกไก่เหล่านั้น

ควรเรียกว่าพี่ ท่านพระโคดม เพราะมันแก่กว่าเขา
เหมือนอย่างนั้นแหละพราหมณ์ บรรดาประชาชนที่อวิชชาครอบงำเหมือนเกิดในฟองไข่ อันกะเปาะฟองหุ้มห่อ
แล้ว เราผู้เดียวเท่านั้นได้ทำลายกะเปาะฟองคืออวิชชาแล้วได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญษณอันยอดเยี่ยมใน
โลก เราเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดในโลก เพราะเราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ดำรงสติไม่ฟั่นเฟือน
กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตดำรงมั่นเป็นเอกัคคตา สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุรูปฌาน เมื่อจิต
บริสุทธิ์อย่างนี้แล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่อบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก
บรรลุจุตูปปาตญาณ รู้จุคิและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย บรรลุอาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ทางดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เมื่อรู้ชัดเป็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตย่อมหลุดพ้น
จากกามาสวะ ภวาสวะ และแม้อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว และรู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

พราหมณ์ วิชชา นี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรีอวิชชาเราได้กำจัดแล้ว เหมือนการทำลาย
ออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ฉะนั้น

เวรัญชพราหมณ์ได้สดับแล้วเกิดความเลื่อมใส ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาและปฏิญญาณตนเป็นอุบาสก
เข้าถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิตพร้อมกับทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์ให้อยู่จำพรรษา
ในเมืองเวรัญชา ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาแล้ว ก็ถวายบังคมทูลลากลับไป

บังเอิญในพรรษานั้น เมืองเวรัญชาข้าวแพง หาเลี้ยงชีพฝืดเคืองภิกษุสงฆ์ลำบากด้วยอาหาร เที่ยวบิณฑบาต
ไม่ได้อาหาร ทั้งมารก็ดลใจเวรัญชพราหมณ์ให้ลืมพระผู้มีพระภาคกับทั้งภิกษุสงฆ์ที่ตนนิมนต์ให้อยู่จำพรรษา
ไม่ได้มาบำรุงด้วยอาหารเลย เคราะห์ดีที่พ่อค้าม้าชาวอุตตราบทได้เข้ามาพักแรมตลอดฤดูฝนในเมืองเวรัญชา
กับม้าประมาณ ๕oo พ่อค้าม้ามีศรัทธาได้พลีข้าวแดงถวายพระภิกษุองค์ละแล่งๆเมื่อภิกษุบิณฑบาตไม่ได้
อาหาร ก็เข้าไปรับข้าวแดงที่คอกม้า เอาไปใส่ครกโขลกฉัน แม้พระอานนท์ก็ยังได้เอาข้าวแดงไปบดถวาย
พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคก็เสวยกระยาหารข้าวแดงนั้น แม้พระภิกษุสงฆ์จะลำบากอาหารที่สุดในเวลานั้น
ก็มิได้มีความวุ่นวาย มีความอดทดอยู่จำพรรษาด้วยความสงบสุขตลอดเวลาได้รับสรรเสริญจากพระบรมศาสดา
เป็นอันมาก

ครั้งนั้นพระมหาโมคคัลลานะ เห็นภิกษุสงฆ์ลำบาก ได้ขอประทานโอกาสพระผู้มีพระภาคเพื่อจัดง้วนดินถวาย
ภิกษุสงฆ์ฉัน และขอนำภิกษุสงฆ์ไปบิณฑบาตยังอุตตรกุรุทวีป แต่พระผู้มีพระภาค ก็ทรงระงับเสียทั้งสอง
ประการ

ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถรเจ้า ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ของพระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหน
ดำรงอยู่นาน พระเจ้าข้า

(เหตุที่พระศาสนา ดำรงอยู่ไม่ได้นาน)

พระพุทธเจ้าข้า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้ง พระองค์นั้น ไม่ดำรงอยู่นาน

ดูกรสารีบุตร เพราะพระวิปัสสี พระสิขี และพระเวสสภูพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้น้อย สิกขาบทก็มิได้ทรง
บัญญัติ ปาฏิโมกข์ก็มิได้แสดงแก่สาวกทั้งหลาย เหมือนดอกไม้ต่างสีต่างกลิ่นที่กองไว้บนพื้นกระดานโดย
ไม่มีด้ายร้อยรัดไว้ ลมย่อมกำจัดให้กระจายตกเรี่ยเสียหายโดยเร็วพลัน ฉะนั้น

(เหตุที่พระศาสนา ดำรงอยู่ได้นาน)

พระพุทธเจ้าข้า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระศาสนาของพระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ
และพระกัสสปพุทธเจ้า ดำรงอยู่นาน

ดูกรสารีบุตร เพราะพระพุทธเจ้าทั้ง พระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายโดยพิสดาร ทั้งสิกขาบท
ก็ทรงบัญญัติ และทั้งปาฏิโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวกทั้งหลาย เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว พระศาสนาจึง
ได้ดำรงอยู่นาน เหมือนดอกไม้ถึงจะต่างสีต่างกลิ่นอย่างใด เมื่อมีด้ายร้อยรัดดีแล้ว ย่อมทนต่อลมที่จะพานพัด
ได้นานฉะนั้น

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรลุกจากอาสนะ ประนมอัญชลีกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าแต่พระสุคต
ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า ที่จะทรงบัญญัติสิกขาบทที่จะทรงแสดงพระปฏิโมกข์ แก่พระสาวกทั้งหลาย อันจะเป็น
เหตุให้พระศาสนายั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน

จงรอก่อน สารีบุตร จงรอก่อน สารีบุตร พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งตถาคตรู้เวลาในกรณีนั้นดี ตถาคตจะยังไม่
บัญญัติสิกขาบท จะยังไม่แสดงปาฏิโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย ตลอดเวลาที่ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า
ยังไม่ปรากฎในสงฆ์ในศาสนานี้เมื่อใด อาสวัฏฐานิยธรรมปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ โดยมีภิกษุประพฤติไม่ดี
ไม่งามไม่ชอบด้วยธรรมวินัยในศาสนานี้เมื่อนั้น ตถาคตจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาฏิโมกข์แก่สาวก
ทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ

ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุ ๕oo รูปเหล่านี้ ไม่เป็นเสนียด ไม่เป็นโทษ ปราศจากความมัวหมอง บริสุทธิ์ผุดผ่อง
ตั้งอยู่ในสารคุณ ทรงคุณธรรม อย่างต่ำก็เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
เป็นผู้จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ไม่ปรากฎอาสวัฏฐานิยธรรม จึงไม่ควรบัญญัติสิกขาบท ยังไม่ควรแสดง
ปาฏิโมกข์ก่อน

ครั้นออกพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคมีพระอานนท์เถระ เป็นปัจฉาสมณะเสด็จเข้าไปที่นิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
เสด็จขึ้นประทับบนอาสนะแล้วรับสั่งกะเวรัญชพราหมณ์ซึ่งเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้นว่า ดูกรพราหมณ์ เราได้อยู่จำพรรษา
ตามคำอาราธนาของท่านแล้ว บัดนี้เราขอลาท่านเพื่อจาริกไปยังชนบทอื่น

เวรัญชพราหมณ์ได้สติกราบทูลว่า เป็นความจริง พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญข้าพระพุทธเจ้านิมนต์ให้อยู่
จำพรรษา แต่ข้าพระองค์ยังมิได้ถวายไทยธรรม มิใช่ไทยธรรมไม่มี มิใช่ไม่ประสงค์จะถวายก็หาไม่เพราะ
ฆราวาสมีกิจมาก มีกรณียะมาก ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตรของข้าพระพุทธเจ้า
ในวันพรุ่งนี้เถิด

รุ่งขึ้นพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕oo เสด็จไปเสวยอาหารบิณฑบาตรที่นิเวศน์ของเวรัญชพราหมณ์
เมื่อเสด็จภัตตกิจแล้วเวรัญชพราหมณ์ได้ผ้าคู่ถวายพระผูมีพระภาค และภิกษุสงฆ์ทุกองค์ไละ ๑ สำรับ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุโมทนาให้เวรัญชพราหมณ์มีความอาจหาญชุ่มชื่นในไทยทานที่ถวายแล้วก็เสด็จ
กลับ ต่อนั้นก็เสด็จออกจากเมืองเวรัญชา จาริกไปตามพระอัธยาศัย เสด็จผ่านเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ
เมืองกัณณะกุชชะ โดยไม่ทรงแวะประทับ เสด็จเลยไปถึงเมืองปยาคะ อันเป็นเมืองท่า เสด็จข้ามแม่น้ำคงคา
ที่ท่าเมืองปยาคะ แล้วเสด็จไปนครพาราณสี เสด็จประทับพักที่เมืองพาราณสีพอสมควรแก่พระอัธยาศัย แล้ว
เสด็จจาริกไปนครเวสาลีเข้าประทับอยู่ที่กูฎาคารศาลาป่ามหาวัน

ครั้งนั้น มีเศรษฐีบุตรคนหนึ่งชื่อว่า สุทิน กลันทบุตร อยู่ในบ้านกลันทคามใกล้นครเวสาลี ได้สดับพระธรรม
เทศนาของพระผู้มีพระภาคแล้วมีความเลื่อมใส มีศรัทธาจะบวชเป็นภิกษุในพระศาสนา จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระองค์ตรัสว่า ในพระธรรมวินัยนี้จะรับกุลบุตรบวชเฉพาะผู้ที่
มารดาบิดาได้อนุญาตแล้ว

สุทิน กลันทบุตร ดีใจถวายบังคมลากลับเรือน เข้าไปหามารดาบิดาขออนุญาตบวช ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดา
มารดาไม่ยอมอนุญาต กล่าวว่า พ่อเป็นลุกคนเดียว ทรัพย์สมบัติมีมาก ใครจะเป็นผู้รับ สุทิน กลันทบุตร เสียใจ
ไม่บริโภคอาหาร คิดอยู่แต่ว่าอยู่ก็บวช ไม่ใช้บวชก็ตายเท่านั้น อดอาหาร วัน เพื่อนของ สุทิน กลันทบุตร
ไปเยี่ยมบอกเศรษฐีว่า ควรอนุญาตให้สุทินบวชเถิด เพราะถ้าไม่ได้บวชก็จะตาย ไม่มีโอกาสเห็นกัน ถ้าบวชแล้ว
ยังมีเวลาเห็นกัน อนึ่ง การบวชอยู่ในเพศบรรพชิตลำบาก สุทินเคยมีความสุข จะบวชไปได้เท่าใด ไม่นานก็จะสึก
มาครองเรือน มารดาบิดาสุทิน กลันทบุตร เห็นร่วมด้วย ก็อนุญาตให้สุทินบวช

สุทิน กลันทบุตร ดีใจลุกขึ้นบริโภคอาหาร พักผ่อนให้มีกำลัง ๒-๓ วันแล้วไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้รับอุปสมบท
เป็นภิกษุในพระศาสนา ครั้นบวชแล้วประพฤติมั่นอยู่ในธุดงค์คุณถึง ประการ หลีกออกบำเพ็ญสมณธรรมอยู่
ในป่าใกล้บ้านชาววัชชีแห่งหนึ่ง บังเอิญในเวลานั้น วัชชีชนบทข้าวหายาก ชาวบ้านหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง ภิกษุ
เที่ยวบิณฑบาตไม่ได้อาหารมีความลำบาก พระสุทินคิดว่า บ้านชาววัชชีอดหยากเพราะข้าวยากหมากแพง
เราควรหลบไปอยู่ที่นครเสาลีสักชั่วคราว เพราะญาติมิตรที่มั่งคั่งที่นั้นมีมาก จะไม่ลำบากด้วยอาหารนัก จึงได้
ออกจากบ้านชาววัชชีไปอยู่กูฎาคารศาลาป่ามหาวันใกล้นครเวสาลี

วันหนึ่ง ท่านเศรษฐีผู้เป็นบิดาพบเข้า จึงนิมนต์พระสุทินให้เข้าไปฉันบิณฑบาตในเรือน ได้เอาเงินทองและ
สมบัติตลอดภรรยาเก่าของพระสุทิน มาเล้าโลมให้พระสุทินสึก พร้อมกับรำพันถึงตระกูลมีบุตรคนเดียวไม่มี
ทายาทรับมรดก พระสุทินก็ตอบว่า ยังยินดีในพรหมจรรย์ มารดาบิดาพระสุทินหมดหวัง จึงขอร้องเป็นวาระ
สุดท้ายว่า ถ้าเช่นนั้นก็ขอพืชพันธุ์ไว้เป็นทายาท อย่าต้องให้เจ้าลิจฉวีริบทรัพย์สมบัติของเรา ผู้หาบุตรสืบ
ตระกูลมิได้เลย

พระสุทินตอบว่า เพียงเท่านี้อาจทำได้ ในที่สุดพระสุทินก็ได้ร่วมประเวณีกับภรรยาเก่า ได้บุตรชายคนหนึ่ง
ชื่อว่า พีชกะ พระสุทินยังมองไม่เห็นโทษ เพราะยังไม่มีสิกขาบทห้ามไว้ ต่อมาพระสุทินไม่สบายใจ รู้สึกว่า
ตนประพฤติไม่ดีงาม ไม่เหมือนบรรพชิตทั้งหลาย ตรอมใจ ท่านได้ซูบผอม เศร้าหมอง มีทุกข์โทมนัส
ซบเซา ไม่มีความสุขด้วยเรื่องในใจ ครั้นเพื่อนภิกษุไต่ถาม ก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง ภิกษุทั้งหลายได้นำ
เรื่องนี้ขึ้นทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

(ประโยชน์แห่งบัญญัติพระวินัย ๑o ประการ)

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุทั้งหลายตรัสถามพระสุทินในเรื่องนี้ พระสุทินได้กราบทูลตาม
สัจจ์จริงทุกประการ พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิเพราะเหตุนี้เป็นอันมาก แล้วรับสั่งว่า เพราะเหตุนี้เราจักบัญญัติ
สิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลายอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑o ประการ คือ :-

๑. เพื่อความดีแห่งสงฆ์
๒. เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์
๓. เพื่อขู่บุคคลผู้เก้อยาก
๔. เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
๕. เพื่อกำจัดอาสวะอันจะเกิดขึ้นในปัจจุบัน
๖. เพื่อป้องอาสวะอันจะเกิดขึ้นในอนาคต
๗. เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเจริญแห่งความเลื่อมใสของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม
๑o. เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย

แล้วทรงบัญญัติปฐมสิกขาบท กำหนดเป็นปฐมบัญญัติจัดเข้าในอุเทศแห่งพระปาฏิโมกข์ในพระพุทธศาสนา
ด้วยประการฉะนี้

 


จบตำนานพระพุทธรูป ปางปฐมบัญญัติ แต่เพียงนี้ .