ปางที่ ๓๖
ปางลีลา

 

ลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้

อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้น
อยู่ในท่าจะก้าวเพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระ 
ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน
บางรูปท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนาน ดังนี้

ตำนานพระพุทธรูปปางนี้ รวมอยู่กับตำนานพระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ซึ่งเป็นปาง ๓๗ .

ความจริง การยกพระบาทเยื้องอย่างเสด็จพระดำเนิน ซึ่งนิยมเรียกว่าการลีลาของพระพุทธเจ้านั้น
โดยปกติก็ทรงปฏิบัติอยู่เป็นประจำทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่น่าจะมีความสำคัญอะไร ถึงกับเป็นเหตุให้สร้าง
พระพุทธรูปปางนี้ขึ้นเลย แต่อังเอิญคราวเสด็จพระพุทธดำเนินลงจากดาวดึงส์เทวโลก
ในท่ามกลางเทวดาและพรหมห้อมล้อมครั้งนั้นว่ากันงามนักงามหนา ถึงกับพระธรรมเสนาบดีสาริบุตร
ก็ยังไม่วายจะชื่นชมปรากฎว่าท่านได้กล่าวคาถาสรรเสริญการเสด็จพระพุทธดำเนินครั้งนี้
ถวายพระบรมศาสดาด้วยความเบิกบานใจว่า

น เม ทิฎฺโฐ อิโต ปุพฺเพ
น สุโต อุท กสุสจิ
เอวํ วคุคุคโท สตุถา
ตุสิตา คณิมาคโต .

ความหมายว่า
การที่พระพุทธเจ้าทรงพระศิริโสภาคอันงามปานนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่เคยเห็นเลย
ไม่เคยได้ยินแม้แต่ถ้อยคำใครๆบอกเล่า พระบรมศาสดามีพระสุรเสียงอันไพเราะอย่างนี้
เสด็จจากดุสิตมาสู่แผ่นดิน .

 

จบตำนานพระพุทธรูป ปางลีลา แต่เพียงนี้ .