ปางที่ o๓
ปางทุกกรกิริยา

 

ลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้

อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันวางบนพระเพลา
พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายอุตตราสงค์ (จีวร) อยู่บนพระอังสาเล็กน้อย 
ข้างขวาหลุดลงมาวางอยู่บนพระเพลา ลางแห่งทำแบบจีวรหลุดลงมาหมด
พระกายซูบผอม จนพระอัฐิ พระนหารู ปรากฎชัด

พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนาน ดังนี้

นับแต่วาระแรกที่พระบรมโพธิสัตว์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตรในพระนครราชคห์
ทรงมีกิริยาสงบแผกจากบรรพชิตในเวลานั้น พระองค์จึงเกิดเป็นบรรพชิตที่สำคัญ
ควรที่ผู้มีปัญญาจะพึงสำเนียกดูพฤติการณ์ ดังนั้นพวกราชบุรุษจึงนำความขึ้นกราบทูล
พระเจ้าพิมพิสาร ราชาธิบดี แห่งแคว้นมคธให้ทรงทราบ ท้าวเธอจึงสั่งให้สะกดรอยตาม
เพื่อรู้ความเท็จจริงของบรรพชิตพิเศษรูปนี้ ครั้นราชบุรุษออกติดตามได้ความจริงแล้ว
ก็นำขึ้นกราบทูลพระเจ้ากรุงมคธให้ทรงทราบ

พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับ ก็มีพระทัยโสมนัสในพระคุณสมบัติทรงพระประสงค์จะได้พบ
จึงเสด็จด้วยพระราชยานออกจากพระนครโดยด่วนครั้นถึงบัณฑวะบรรพตก็เสด็จออกจาก
พระราชยาน ทรงดำเนินเข้าไปเฝ้าพระบรมโพธิสัตว์เจ้า เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นพระอริยาบถ
เรียบร้อยอยู่ในสมณสังวรก็ยิ่งหลากพระทัย ทรงเลื่อมใสในปฏิปทายิ่งขึ้น ครั้นได้ทูลถามถึงตระกูล
ประเทศ และพระชาติ เมื่ิอทรงทราบว่าเป็นขัตติยศากยราชเสด็จออกบรรพชา ก็ทรงดำริว่า
ชรอยพระบรมโพธิสัตว์จะทรงพิพาทกับพระประยูรญาติด้วยเรื่องพระราชสมบัติเป็นแม่นมั่น
จึงได้เสด็จออกบรรพชา อันเป็นธรรมดาของนักพรตที่ออกจากราชตระกูลในกาลก่อน
จึงได้ทรงเชื้อเชิญพระบรมโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ ซึ่งพระองค์ยินดีจะแบ่งถวายให้เสวย
สมบัติสมพระเกียรติทุกประการ

พระบรมโพธิสัตว์ตอบขอบพระทัยพระเจ้าพิมพิสาร ที่ทรงมีพระเมตตาแบ่งพระราชสมบัติ
พระราชทาน แต่พระองค์มิได้มีความประสงค์จำนงค์หมายเช่นนั้น ทรงสละราชสมบัติออกผนวช
เพื่อมุ่งหมายพระสัพพัญญุตญาณโดยแท้

พระเจ้าพิพิสารได้ทรงสดับก็ตรัสอนุโมทนา และทูลข้อปฏิญญากะพระโพธิสัตว์ว่า
ถ้าพระองค์ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ขอให้ทรงพระกรุณามาแสดงธรรมโปรดด้วย
ครั้นพระบรมโพธิสัตว์ทรงรับปฏิญญาแล้ว ก็ถวายบังคมลากลับพระนคร

ลำดับนั้น พระบรมโพธิสัตว์ก็เสด็จจาริกจากที่นั้น ไปสู่สำนักท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร
ซึ่งอาศรมอยู่ในพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ขอพำนักศึกษาวิชาและปฏิบัติอยู่ด้วย
ทรงศึกษาอยู่ไม่นานก็ได้บรรลุสมาบัติ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ สิ้นความรู้ของอาฬารดาบส
ทรงเห็นว่าธรรมเหล่านี้มิใช่ทางตรัสรู้ จึงได้อำลาจากอาฬารดาบสไปสู่สำนักอุทกดาบส
รามบุตรขอพำนักศึกษาอยู่ด้วย ทรงศึกษาได้อรูปฌานเพิ่มขึ้นอีก ๑ ครบสมาบัติ ๘
สิ้นความรู้ของอุทกดาบส ครั้นทรงไต่ถามถึงธรรมวิเศษขึ้นไป อุทกดาบสก็ไม่สามารถจะบอกได้
และได้ยกย่องตั้งพระบรมโพธิสัตว์ไว้ในที่เป็นอาจารย์เสมอด้วยตน แต่พระบรมโพธิสัตว์ทรงเห็นว่า
ธรรมเหล่านี้ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงได้อำลาออกแสวงหาธรรมวิเศษสืบไป ทั้งมุ่งพระทัยจะทำความเพียร
โดยลำพังพระองค์เอง ได้เสด็จจาริกไปยังมคธชนบท บรรลุถึงตำบลอุรุเวลา เสนานิคม
ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ราบรื่น แนวป่าเขียวสด เป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด
มีท่าน่ารื่นรมย์ โคจรคามคือหมู่บ้านที่อาศัย เที่ยวภิกษาจารก็ตั้งอยู่ไม่ไกล ทรงเห็นว่าสถานที่นั้น
ควรเป็นที่อาศัยของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรได้ จึงประทับอยู่ ณ ที่นั้น

ฝ่ายโกณฑัญญพราหมณ์ ได้ทราบข่าวว่า พระสิทธัตถะกุมารเสด็จออกบรรพชาแล้วก็ดีใจ
รีบไปชวนบุตรของเพื่อนพราหม์ื คน ที่ร่วมคณะถวายคำทำนายพระลักษณะด้วยกัน
กล่าวว่า บัดนี้พระสิทธัตถะกุมารเสด็จออกบรรพชาแล้ว ตามคำพยากรณ์พระองค์จะต้องได้ตรัสรู้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยแท้ ไม่มีที่จะสงสัยไปเป็นอื่น ถ้าบิดาของท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็จะออก
บรรพชาด้วยกันในวันนี้ ดังนั้นหากท่านปราถนาจะบวช ก็จงมาบวชตามเสด็จพระกุมารด้วยกันเถิด
แต่บุตรพราหมณ์ทั้ง นั้น หาได้พร้อมใจกันทั้งหมดไม่ ยินดีรับบวชแค่ คน โกณฑัญญพราหมณ์
ก็พาพราหมณ์มานพทั้ง ออกบรรพชา เป็น คน ด้วยกันจึงได้นามว่า "พระปัจวัคคีย์"
เพราะมีพวก คน คือ พระโฏณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ
ชวนกันออกสืบเสาะติดตามพระบรมโพธิสัตว์เจ้าในที่ต่างๆ จนไปประสบพบพระบรมโพธิสัตว์
ที่ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม จึงพากันเข้าไปถวายอภิวาทแล้วอยู่ปฏิบัติบำรุงจัดทำธุรกิจถวายทุกประการ
โดยหวังว่า เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดตนบ้าง

พระบรมโพธิสัตว์ทรงเริ่มทำทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นปฏิปทาที่นิยมว่า เป็นทางให้ตรัสรู้ได้ในสมัยนั้น
โดยทรมานพระกายให้ลำบาก อันเป็นกิจยากที่บุคจะทำได้ด้วยการทรมานเป็น วาระ ดังนี้

วาระที่ ๑ ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยชิวหาไว้ให้แน่นจนพระเสโทไหลโซม
จากพระกัจฉะ ในเวลานั้นได้เสวยทุกขเวทนากล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังมากจับบุรุษที่มีกำลังน้อย
ที่ศีรษะหรือที่คอ บีบให้แน่นฉะนั้น แม้พระกายจะกระวนกระวายไม่สงบอย่างนี้ แต่ทุกขเวทนานั้นไม่อาจ
ครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่ายได้ พระองค์มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน ทรงบากบั่นทำติดต่อไม่ท้อถ้อย
ครั้นเห็นว่าทรงทำอย่างนั้น ไม่ใช่ทางให้ตรัสรู้ได้ จึงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

วาระที่ ๒ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ เมื่อลมเดินไม่สะดวกทางพระนาสิกและพระโอฐ
ก็เกิดเสียงดังอู้ทางพระกรรณทั้งสองข้างให้ปวดพระเศียร เสียดพระอุทรร้อนในพระกายเป็นกำลัง
แม้จะได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนั้น แต่ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้
กระสับกระส่ายได้ มีพระสติไม่ฟั่นเฟือนบากบั่นติดตามต่อไม่ย่อหย่อน ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนี้
ไม่ใช่ทางให้ตรัสรู้ได้ จึงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

วาระที่ ๓ ทรงอดพระอาหาร ทรงผ่อนเสวย ลดอาหารให้น้อยลงมากๆ ในที่สุดก็ไม่เสวย
จนพระกายเหี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้าหมองพระอัฐิปรากฎทั่วพระวรกาย เมื่อทรงลูบพระกาย
เส้นพระโลมามีรากเน่าล่วงจากขุมพระโลมา พระกำลังน้อยลง เสด็จไปทางใหนก็ซวนล้ม
วันหนึ่งทรงอ่อนพระกำลังอิดโรยหิวโหยที่สุด จนไม่สามารถจะทรงพระกายไว้ได้
ก็ทรงวิสัญญีวาภาพล้มลงในที่นั้น

ขณะนั้น เทพยดาองค์หนึ่งสำคัญผิดคิดว่า พระบรมโพธิสัตว์สิ้นพระชนม์แล้ว
จึงรีบไปยังปราสาทพระสุทโธทนะ ณ เมืองกบิลพัศดุ์ ทูลว่า บัดนี้ พระสิทธัตถะ
พระโอรสของพระองค์ได้สิ้นพระชนม์ชีพแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งถามว่า
พระโอรสของเราได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าหรือยังเป็นประการใด เทพยดาตอบว่า
ยังมิได้ตรัสรู้ ท้าวเธอไม่ทรงเชื่อจึงรับสั่งว่า จะเป็นเช่นนั้นไม่ได้ หากพระโอรสของเรา
ยังมิได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะไม่ด่วนทำลายพระชนม์ชีพก่อนเลย
แล้วเทพยดาองค์นั้นก็อันตรธานจากพระราชนิเวศน์ไป

ส่วนพระบรมโพธิสัตว์ เมื่อได้สัญญาฟื้นพระกายกุมพระสติให้ตั้งมั่นทรงพิจารณาดู
ปฏิปทาในทุกกรกิริยาที่ทรงทำอยู่ ทรงดำริว่าถึงบุคลทั้งหลายใดๆในโลกนี้
จะทำทุกกรกิริยาอย่างอุกฤษฏ์นี้ บุคคลนั้นก็ทำทุกกรกิริยาเสมออาตมะเท่านั้น
จะทำยิ่งกว่าอาตมะหาไม่ได แม้แต่อาตมะปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ถึงเพียงนี้
ไฉนหนอจึงยังไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณ ชรอยทางตรัสรู้จะมีเป็นอย่างอื่น
ไม่ใช่อย่างนี้แน่ เกิดพระสติหวนระลึกถึงความเพียรทางใจว่า จะเป็นทางให้ตรัสรู้บ้าง

ขณะนั้น สมเด็จอมรินทราราชทรงทราบข้อปริวิตกของพระบรมโพธิสัตว์ ดังนั้นจึง
ทรงพิณทิพย์สามสายมาดีดถวายพระบรมโพธิสัตว์ สายหนึ่งตึงนัก พอดีดไปหน่อยก็ขาด
สายหนึ่งหย่อนนัก ดีดเท่าใดก็ไม่ส่งเสียง สายหนึ่งไม่ตึงไม่หย่อนเกิน พอปานกลาง
ดีดเข้าก็บรรลือเสียงไพเราะเจริญใจ พระบรมโพธิสัตว์ได้สดับเสียงพิณ ทรงหวลระลึก
ถึงพิณที่เคยทรงมาแต่ก่อน ก็ทรงตระหนักแน่ ถือเอาเป็นนิมิตร ทรงพิจารณาเห็นแจ้งว่า
ทุกกรกิริยามิใช่ทางตรัสรู้แน่ ทางแห่งพระโพธิญารที่ควรแก่การตรัสรู้ต้องเป็น มัชฌิมาปฏิปทา
บำเพ็ยเพียรทางจิตปฏิบัติปานกลาง ไม่ตึงนัก ไม่หย่อนนัก จึงใคร่จะทรงตั้งปณิธานทำความ
เพียรทางจิต ทรงเห็นว่า ความเพียรทางจิตเช่นนั้น คนซูบผอมหากำลังมิได้เช่นอาตมะนี้
ย่อมไม่สามารถจะทำได้ ควรจะหยุดพักกินอาหาร แข้น คือ ข้าวสุก ขนมสด ให้มีกำลังดีก่อน
ครั้นตกลงพระทัยเช่นนั้นแล้ว ก็กลับเสวยอาหารบำรุงพระวรกายตามเดิม .


จบตำนานพระพุทธรูป ปางทุกกรกิริยา แต่เพียงนี้
.