24

จับกับวาง

            นักศึกษาธรรมะ หรือนักปฏิบัติธรรมะ มีสองประเภท ประเภทที่หนึ่ง ศึกษาปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความพ้นทุกข์ ์อย่างแท้จริง ประเภทที่สอง ศึกษาปฏิบัติเพื่อจะอวดภูมิกันถกเถียงกันไปวันหนึ่ง ๆ  เท่านั้น  ใครจำตำราหรืออ้างครู บาอาจารย์ได้มาก ก็ถือว่าตนเป็นคนสำคัญ บางทีเข้าหาหลวงปู่แทนที่จะถามธรรมะ ข้อปฏิบัติจากท่าน ก็กลับพ่น ความรู้ความจำของตนให้ท่านฟัง อย่างวิจิตรพิสดารก็เคยมีไม่น้อย 

            แต่สำหรับหลวงปู่นั้นทนฟังได้เสมอ เมื่อเขาจบลงแล้วยังช่วยต่อให้หน่อยหนึ่งว่า

            “ผู้ใดหลงใหลในตำราและอาจารย์ ผู้นั้นไม่อาจพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้ที่จะพ้นทุกข์ได้ต้องอาศัยตําราและ อาจารย์เหมือนกัน”  

 

ทำจิตให้สงบได้ยาก

            การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้น จะให้ได้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้ บางคนได้ผลเร็ว บางคนก็ช้าหรือ ยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มี แต่ก็ไม่ควรท้อถอย ก็ชื่อว่าเป็นผู้ได้ประกอบความเพียรทางใจ ย่อมเป็นบุญ เป็นกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทาน รักษาศีล เคยมี ลูกศิษย์เป็นจำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ว่า อุตส่าห์พยายาม ภาวนาสมาธินานมาแล้ว แต่จิตไม่เคยสงบเลย แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย มีวิธีอื่นใดบ้างทีพอจะปฏิบัติได้ 

            หลวงปู่เคยแนะนำวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า

            “ถึงจิตมันไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลด สังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกำหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน”  

25

หลักธรรมแท้

            มีอยู่อย่างหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติชอบพูดถึง คือ ชอบโจษขานกันว่านั่งภาวนาแล้วเห็นอะไรบ้าง ปรากฏอะไรมาบ้าง หรือไม่ก็ว่าตนนั่งภาวนามานานแล้วไม่เคยเห็นปรากฏอะไรออกมาบ้างเลย หรือไม่บางคนก็ว่า ตนได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่ เสมอ ทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ภาวนาแล้วตนจะได้เห็นสิ่งที่ต้องการ เป็นต้น 

            หลวงปู่เคยเตือนว่า การปรารถนาเช่นนั้นผิดทั้งหมด เพราะการภาวนานั้นเพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมที่แท้จริง

            “หลักธรรมที่แท้จริงนั้น คือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้ง แล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม”  

 

เตือนศิษย์ไม่ให้ประมาท

            เพื่อป้องกันความประมาท หรือมักง่ายต่อการประพฤติปฏิบัติของพระเณร หลวงปู่จึงสรรหาคําสอนตักเตือน ไว้อย่างลึกซึ้งว่า

            “คฤหัสถ์ชน ญาติโยมทั่วไป เขาประกอบอาชีพการงานด้วยความยากลำบาก เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุข้าวของ เงินทอง มาเลี้ยงครอบครัวลูกหลานของตน แม้จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าอย่างไรเขาก็ต้องต่อสู้ ขณะเดียวกันเขาก็ ็อยากได้บุญได้กุศลด้วย จึงพยายามเสียสละทำบุญ ลุกขึ้นแต่เช้าหุงหาอาหารอย่างดีคอยใส่บาตร ก่อนใส่ เขายก อาหารขึ้นท่วมหัวแล้วตั้งจิตอธิษฐาน ครั้นใส่แล้วก็ถอย ไปย่อตัวยกมือไหว้อีกครั้งหนึ่ง ที่เขาทําเช่นนั้นก็เพื่อต้องการ บุญต้องการกุศลจากเรานั่นเอง แล้ว เราเล่า “มีบุญกุศลอะไรบ้างที่จะให้เขา ได้ประพฤติตนให้สมควรที่จะรับ เอาของเขามากินแล้วหรือ”

26

หนัก ๆ ก็มีบ้าง

            พระอาจารย์สำเร็จ บวชมาแต่วัยเด็ก จนอายุใกล้หกสิบปีแล้วเป็นพระฝ่ายวิปัสสนาปฏิบัติเคร่งครัด ชื่อเสียงดี มีคนเคารพนับถือมาก แต่ในที่สุดก็ไปไม่รอด จิตใจเสื่อมลง เนื่องจากไปหลงรักลูกสาวของโยมอุปัฏฐาก ถึงขั้นมา ขอลาหลวงปู่สึกไปแต่งงาน 

            ทุกคนตกตลึงกับข่าวนี้มาก ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะปฏิปทาของท่านเป็นที่ยอมรับว่าจะต้องอยู่ สมณวิสัยจนตลอดชีวิต หากเป็นเช่นนั้นไป ก็จะเป็นการเสื่อมเสียแก่วงการฝ่ายวิปัสสนาอย่างยิ่ง พระเถระ คณะสงฆ์ และสานุศิษย์ของท่าน จึงช่วยกันป้องกันทุกวิถีทางเพื่อให้ท่านเปลี่ยนใจที่จะคิดสึกเสีย โดยเฉพาะหลวงปู่เรียกมา ตักเตือนแก้ไขอย่างไรก็ไม่สำเร็จ สุดท้ายอาจารย์สำเร็จ กล่าวต่อหลวงปู่ว่า “กระผมอยู่ไม่ได้เพราะนั่งภาวนาทีไร เห็นใบหน้าเขา มาล่องลอยปรากฏต่อหน้าอยู่ตลอดเวลา”

            หลวงปู่ตอบเสียงดังว่า

            “ก็ไม่ภาวนาดูจิตของตัวเอง ไปภาวนาดูก้นของเขา มันก็เห็นแต่ก้นเขาอยู่ร่ำไปนั่นแหละ ไป! อยากไปไหน ก็ไปตามสบายเถอะ”  

มีปรกติไม่แวะเกี่ยว

            อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่เป็นเวลานานสามสิบกว่าปี จนถึงวาระสุดท้ายของท่านนั้น เห็นว่าหลวงปู่มีปฏิปทา ตรงต่อพระธรรมวินัย ตรงต่อการปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์อย่างเดียว ไม่แวะเกี่ยวกับ วิชาอาคมของศักดิ์สิทธิ์ หรือสิ่งชวน สงสัยอะไรเลยแม้แต่น้อย เช่น มีคนมาขอให้เป่าหัวให้ ก็ถามว่าเป่าทำไม มีคนขอให้เจิมรถ ก็ถามเขาว่า เจิมทำไม มีคนขอให้บอกวันเดือนหรือฤกษ์ดี ก็บอกว่า วันไหนก็ดีทั้งนั้น ฯ หรือเมื่อท่านเคี้ยวหมาก มีคนมาขอชานหมาก 

            หลวงปู่ว่า  “เอาไปทำไม ของสกปรก”