15

คนละเรื่อง  

            มีชายหนุ่มจากต่างจังหวัดไกลสามสี่คนเข้าไปหาหลวงปู่ ขณะที่ท่านนั่งพักผ่อนอยู่ที่มุขศาลาการเปรียญ ดูอากัปกิริยาของเขาแล้วคงคุ้นเคยกับพระนักเลงองค์ใดองค์หนึ่งมาก่อนแล้ว สังเกตจากการนั่งการพูด เขานั่งตาม สบาย พูดตามถนัด ยิ่งกว่านั้น เขาคงเข้าใจว่าหลวงปู่นี้คงสนใจกับเรื่องเครื่องรางของขลังอย่างดี เขาพูดถึงชื่อเกจิ อาจารย์อื่น ๆ ว่าให้ของดีของวิเศษแก่ตนหลายอย่าง ในที่สุดก็งัดเอาของมาอวดกันเองต่อหน้าหลวงปู่ คนหนึ่งมี ีเขี้ยวหมูตัน คนหนึ่งมีเขียวเสือ อีกคนมีหน่อแรด ต่างคนต่างอวดอ้างว่าของตนดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ มีคนหนึ่งเอยว่า หลวงปู่ฮะ อย่างไหนแน่วิเศษกว่ากันฮะ 

            หลวงปู่ก็อารมณ์รื่นเป็นพิเศษยิ้ม ๆ แล้วว่า

            “ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน”

 

ปรารภธรรมะให้ฟัง  

            คราวหนึ่ง หลวงปู่กล่าวปรารภพระธรรมให้ฟังว่า เราเคยตั้งสัจจะอ่านพระไตรปิฎกจนจบ ในพรรษาที่ ๒๔๙๕ เพื่อสำรวจดูว่าจุดจบของพระพุทธศาสนาอยู่ตรงไหน ที่สุดแห่งสัจธรรม หรือที่สุดของทุกข์นั้นอยู่ตรงไหน พระพุทธองค์ทรงกล่าวสรุปไว้ว่าอย่างไร ครั้นอ่านไป ตริตรองไป กระทั้งถึงจบ ก็ไม่เห็นตรงไหนที่สัมผัสอันลึกซึ้งถึง จิตของเรา ให้ตัดสินได้ว่านี่คือที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ ที่สุดแห่งมรรคผล หรือที่เรียกว่านิพพาน ฯ

            มีอยู่ตอนหนึ่ง คือครั้งนั้นพระสารีบุตรออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ พระพุทธเจ้าตรัสถาม เชิงสนทนาธรรมว่า สารีบุตร สีผิวของเธอผ่องใสยิ่งนัก วรรณะของเธอหมดจดผุดผ่องยิ่งนัก อะไรเป็นวิหารธรรมของเธอ พระสารีบุตรกราบทูลว่า  “ความว่างเปล่าเป็นวิหารธรรมของข้าพระองค์”

           (สุญญตา) ฯ     ก็เห็นมีอยู่เพียงแค่นี้แหละ ที่มาสัมผัสจิตของเรา

16

แนะนำตามวิทยฐานะ            

พระอาจารย์สุจินต์ สุจิณโณ จบนิติฯ จากธรรมศาสตร์นานแล้ว มีความเลื่อมใสในทางปฏิบัติธรรม เคยไป ฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่หลุย เป็นเวลาหลายปี ต่อมาเมื่อได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่ดูลย์  จึงลาหลวงปู่หลุยมาปฏิบัติ กับหลวงปู่ ตลอดถึงขอบรรพชาอุปสมบทอยู่ตลอดมา อยู่กับหลวงปู่พอสมควรแก่ความต้องการแล้ว จึงกราบลาเพื่อ เดินทางธุดงค์วิเวกต่อไป 

            หลวงปู่แนะนำว่า   “ส่วนเรื่องของพระวินัยนั้น ให้ศึกษาอ่านตำรับตำราให้เข้าใจให้ถูกต้องทุกข้อมูลเพื่อ ปฏิบัติไม่ให้ผิด ส่วนธรรมะนั้น ถ้าอ่านมากจะมีวิตกวิจารณ์มาก จึงไม่ต้องอ่านก็ได้ ขอให้ตั้งใจ ปฏิบัติเอาเพียงอย่าง เดียวก็พอ”

แนะนำหลวงตาแนน  

            หลวงตาแนน บวชเมื่อวัยเลยกลางคนไปแล้ว หนังสือก็อ่านไม่ออกเลยสักตัว ภาษากลางก็พูดไม่ได้สักคำ ดีอย่างเดียวคือ เป็นคนตั้งใจดี ขยันปฏิบัติกิจวัตรไม่ขาดตกบกพร่อง ว่าง่าย สอนง่าย เมื่อเห็นพระรูปอื่นเขาออกไป ธุดงค์ หรืออยู่กับสำนักปฏิบัติกับครูบาอาจารย์อื่นๆ ก็อยากจะไปกับเขาด้วยจึงไปลาหลวงปู่ 

            เมื่อหลวงปู่อนุญาตแล้ว หลวงตาแนนกลับวิตกว่า กระผมไม่รู้หนังสือ ไม่รู้ภาษาพูดเขา จะปฏิบัติกับเขา อย่างไร 

            หลวงปู่แนะนำว่า  “การปฏิบัติ ไม่ได้เกี่ยวกับอักขระพยัญชนะหรือคำพูดอะไรหรอก ที่รู้ว่าตนไม่รู้ก็ดีแล้ว วิธีปฏิบัตินั้น ส่วนวินัยให้พยายามดูแบบอย่างเขา แบบอย่างครูบาอาจารย์ผู้นำ อย่าทำให้ผิดแผกจากท่าน ส่วนธรรม ให้ดูที่จิตของตัวเอง ปฏิบัติที่จิต เมื่อเข้าใจจิตแล้ว อย่างอื่นก็เข้าใจได้เอง”  

17

ภาระและปัญหาประจำ  

            การปกครองและการบริหารหมู่คณะใหญ่ นอกจากจะต้องแก้ปัญหาเล็กใหญ่อย่างอื่นแล้ว ก็มีปัญหา ขาดแคลนพระเจ้าอาวาส เราเคยได้ยินแต่การแย่งเป็นสมภารกัน แต่ลูกศิษย์หลวงปู่นั้น ต้องปลอบ ต้องบังคับให้ไป เป็นสมภาร ไม่เว้นแต่ละปี ที่มีญาติโยมยกขบวนมาขอหลวงปู่ส่งพระ ไปเป็นเจ้าอาวาส เมื่อหลวงปู่เห็นว่า องค์ไหน สมควรไปก็ขอร้องให้ไป ส่วนมากเมื่อไม่อยากไปก็มักจะอ้างว่า กระผมก่อสร้างไม่เก่ง อบรมไม่เป็น เทศน์ไม่ได้ ประชาสัมพันธ์ หรือรับแขกไม่คล่อง เป็นต้น จึงยังไม่อยากจะไป 

            หลวงปู่ก็สอนว่า

            “สิ่งเหล่านั้นไม่จำเป็นเท่าไรหรอก เรามีหน้าที่ปฏิบัติกิจวัตรเท่านั้นเอง บิณฑบาตฉัน แล้วก็นั่งภาวนา เดินจงกรม ทำความสะอาดลานวัด เคร่งครัดตามธรรมวินัย แค่นี้ก็พอแล้ว การก่อสร้าง อะไร ๆ มันแล้วแต่ญาติโยม เขาจะทำหรือไม่ทำก็แล้วแต่เขา”

 

ปรารภธรรมะให้ฟัง  

            หลวงปู่สรงน้ำวันละหนึ่งครั้ง เวลาบ่ายห้าโมง เฉพาะน้ำร้อน ที่ผสมให้อุ่นแล้ว กระทำอยู่ อย่างนี้จนตลอดอายุขัยของท่าน โดยมีพระเณรผู้อยู่รับใช้ช่วยสรงถวายท่าน หลังจากเช็ดตัวแห้งดี จิตใจปลอดโปร่งแล้ว ท่านมักจะปรารภธรรมะให้ฟัง แล้วแต่จะมีธรรมะข้อใดปรากฏขึ้นในขณะนั้นเช่น ครั้งหนึ่งท่านปรารภว่า

            “ภิกษุเรา ถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุขเยือกเย็น ถ้าตัวเอง อยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ภาวะอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้นยิ่งจนยิ่งมีความสุข”